หลักการทั่วไป
ข้อ 1. เปตองเป็นกีฬาที่เล่นโดยมีผู้เล่น 2 ฝ่าย และแบ่งการเล่นออกได้ ดังนี้
- ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน (Triples)
- ผู้เล่นฝ่ายละ 2 คน (Doubles)
- ผู้เล่นฝ่ายละ 1 คน (Single)
1.1 ในการเล่นฝ่ายละ 3 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 2 ลูก
1.2 ในการเล่นฝ่ายละ 2 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก
1.3 ในการเล่นฝ่ายละ 1 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก
1.4 ห้ามจัดให้มีการเล่นนอกเหนือจากกฎที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 1 นี้
ข้อ 2. ลูกเปตองที่ใช้เล่นต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์เปตองนานาชาติหรือสมาคมสหพันธ์ เปตองแห่งประเทศไทยฯ และต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
ก. เป็นโลหะ
ข. มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 7.05-8.00 เซนติเมตร
ค. มีน้ำหนักระหว่าง 650 - 800 กรัม จะต้องมีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนักและเลขรหัส ปรากฏบนลูกเปตอง อย่างชัดเจน
ง. เป็นลูกเปตองที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ และห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ไม่ว่าจะใช้ตะกั่วบัดกรี หรือนำเอาดินทราย มาติดเพิ่มหรือใส่ลงในลูกเปตองในลักษณะที่มีเจตนาส่อไปในทางทุจริตแต่อนุญาต ให้เจ้าของสลักชื่อ หรือเครื่องหมายบนลูกเปตอง
2.1 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎข้อ 2(ง) จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน
2.2 ลูกเปตองที่ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษดังนี้
ก. กรณีปลอมแปลงลูกเปตองผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต(บัตรประจำตัวนักกีฬา) 15 ปี และอาจถูก ลงโทษจากคณะกรรมการวินัยอีกด้วย
ข. กรณีใช้ความร้อนเพื่อดัดแปลงสภาพของลูกเปตอง ผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต (บัตรประจำตัว นักกีฬา) 2 ปี และห้ามเข้าทำการแข่งขันชนะเลิศแห่งชาติ และนานาชาติเป็นระยะเวลา 3 - 5 ปี
2.3 กรณีหนึ่งกรณีใดที่ได้ระบุไว้ใน ข้อ 2.2 (ก) และ(ข) ถ้าผู้เล่นได้ยืมลูกเปตองจากผู้อื่นมาเล่น เจ้าของลูกเปตองผู้ให้ยืม จะถูกลงโทษภาคทัณฑ์เป็นระยะเวลา 2 ปี
2.4 ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระทำทุจริต แต่เนื่องจากลูกเปตองนั้นเก่ามากหรือมีการผิดพลาดจากโรงงานผู้ผลิตและเมื่อ ตรวจสอบแล้วไม่ได้ลักษณะตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2 (ก),(ข),และ(ค) จะต้องเปลี่ยนลูกเปตองนั้นทันทีและอาจเปลี่ยนแปลงเกมส์การเล่นใหม่
2.5 เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ก่อนทำการแข่งขันทุกครั้ง ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายควรตรวจสอบลูกเปตองของตน และฝ่ายตรง ข้ามให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2(ก),(ข)และ(ค)
2.6 ในกรณีที่มีการผ่าลูกเปตองเพื่อตรวจสอบ ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระทำการทุจริต ฝ่ายประท้วงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ หรือเปลี่ยนลูกเปตองนั้นให้แก่ฝ่ายเสียหายและเจ้าของลูกเปตองไม่มีสิทธิ์ที่ จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆอีก
2.7 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินและกรรมการชี้ขาดอาจตรวจสอบลูกเปตองของผู้เล่นทุกคนได้ทุกเวลา
2.8 การประท้วงของนักกีฬาว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบลูกเปตองจะกระทำได้ในระหว่างการเล่น 2 เที่ยวแรกเท่านั้น
2.9 หลังจากเล่นเที่ยวที่ 3 แล้วถ้ามีการประท้วงเกี่ยวกับลูกเปตองของฝ่ายตรงข้ามเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า ลูกเปตอง นั้นไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ฝ่ายที่ประท้วงจะถูกปรับ 3 คะแนนโดยนำไปเพิ่มในป้ายคะแนนฝ่ายตรงข้าม
2.10 ลูกเป้าต้องทำด้วยไม้หรือใยสังเคราะห์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25 - 35 ม.ม. และอาจทาสีได้ แต่ต้องสามารถ มองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตของสนาม
ข้อ 3. ก่อนเริ่มการแข่งขัน
หากกรรมการผู้ตัดสินหรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามขอตรวจสอบใบอนุญาต
(บัตรประจำตัวนักกีฬา) ผู้เล่นนั้นๆจะต้องแสดงให้ดูทันที
ใบอนุญาต(บัตรประจำตัวนักกีฬา)
ทุกประเภทต้องออกโดยสมาคมสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยฯมีรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว
มีลายเซ็นของผู้ถือบัตร และต้องมีตราของชมรม หรือสมาคมนั้น
ประทับคาบอยู่บนรูปถ่ายด้วย
ข้อ 4. ห้ามผู้เล่นทุกคนเปลี่ยนลูกเป้าหรือลูกเปตองในระหว่างการแข่งขันเว้นแต่ในกรณีดังนี้
4.1 ลูกเป้าหรือลูกเปตองหาย หาไม่พบ (กำหนดเวลาในการค้นหา 5 นาที)
4.2 ถ้าลูกเปตองหนึ่งแตกเป็น 2 ชิ้นหรือหลายชิ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
ก. ถ้าหมดลูกเปตองเล่นแล้ว ให้นับคะแนนจากชิ้นที่ใหญ่ที่สุด
ข. ถ้ายังมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่ ให้นำลูกเปตองอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปลี่ยนทันทีโดยให้นำมาวางแทน ที่ตำแหน่งชิ้นใหญ่ ที่สุดของลูกเปตองที่แตกนั้นแล้วเล่นต่อไปตามปกติกฎข้อ 4.2 นี้ ให้ใช้กับลูกเป้าด้วย
วิธีการเล่น
ข้อ 1. เปตองเป็นกีฬาที่เล่น ได้กับสนามทุกสภาพ ยกเว้นพื้นคอนกรีตพื้นไม้ และพื้นดินที่มีหญ้าขึ้นสูงโดย มีคณะกรรมการจัดการแข่งขันหรือผู้ตัดสินเป็นผู้กำหนด ผู้เล่นทุกทีมต้องเล่นในสนามที่กำหนดให้ สำหรับการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับชาติ และนานาชาติ สนามต้องมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร เป็นอย่างน้อย
1.1 ส่วนการแข่งขันอื่นๆ สมาคมสหพันธ์ฯ อาจอนุโลมให้เปลี่ยนแปลงขนาดของสนามได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมแต่ต้องมี ขนาด กว้าง 3.50 เมตร และยาว 13 เมตร เป็นอย่างน้อย
1.2 เกมส์หนึ่งกำหนดให้ใช้ 13 คะแนน สำหรับการแข่งขันในรอบแรกและรอบต่อๆไป (จะใช้เพียง 11 คะแนนก็ได้) สำหรับรอบชิงชนะเลิศ ในระดับนานาชาติ หรือแห่งชาติให้ใช้ 15 คะแนน
ข้อ 2. ผู้เล่นทุกคนต้องลงสู่สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดให้ และทำการเสี่ยงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
2.1 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นฝ่ายชนะในการเสี่ยง เป็นผู้โยนลูกเป้าเมื่อเลือกจุดเริ่มแล้วให้เขียนวงกลมบนพื้นมีขนาดพอที่ เจ้าทั้งสองข้าง เข้าไปยืนอยู่ได้ (เส้นผ่านศูนย์กลาง ระหว่าง 0.35-0.50 เมตร) วงกลมนั้นจะต้องห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร สำหรับการแข่ง ขันในสภาพสนามที่ไม่มีขอบเขตของสนามให้เขียนวงกลมห่างจากวงกลมของสนามอื่น ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
2.2 ผู้ที่เตรียมเล่น จะต้องเข้าไปยืนอยู่ภายในวงกลมห้ามเหยียบเส้นรอบวงห้ามยกเท้าพ้นพื้น และห้ามออกจากวงกลมก่อนที่ลูกเปตองจะตกถึงพื้นส่วน ส่วนอื่นของร่างกายจะถูกพื้นนอกวงกลมไม่ได้เว้นแต่คนขาพิการซึ่งได้รับ อนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้วางเท้าข้างเดียวในวงกลมได้ ส่วนนักกีฬาพิการที่ต้องนั่งรถเข็น ให้ ขีดวงกลมรอบล้อรถเข็นได้และที่วางเท้ารถเข็นต้องให้อยู่สูงเหนือขอบวงกลม
2.3 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นผู้โยนลูกเป้า ไม่บังคับว่าจะต้องเป็นผู้โยนลูกเปตองลูกแรกเสมอ ไป 2.4 ในกรณีที่สนามไม่ดี (ชำรุด) ห้ามผู้เล่นตกลงกันเองไปแข่งขันสนามอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
ข้อ 3. ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าดีจะต้องมีกฎเกณฑ์ดังนี้
3.1 มีระยะห่างระหว่างขอบวงกลมด้านใกล้ที่สุดถึงลูกเป้า
ก. ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี)
ข. ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับยุวชน (อายุระหว่าง 13-14 ปี)
ค. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับเยาวชน (อายุระหว่าง 15-17 ปี)
ง. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับผู้ใหญ่ (ไม่จำกัดอายุ)
3.2 วงกลมต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามหรือเส้นฟาล์วไม่น้อยกว่า 1 เมตร
3.3 ตำแหน่งลูกเป้าต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร
3.4 ลูกเป้าจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเป็นได้อย่างชัดเจน ขณะยืนตัวตรงอยู่ในวงกลม(ถ้ามีการโต้แย้ง ในกรณีนี้ผู้ตัดสินเป็นผู้ชี้ขาด)
3.5 การโยนลูกเป้าในเที่ยวต่อๆ ไปให้เขียนวงกลมรอบตำแหน่งที่ลูกเป้าอยู่ในเที่ยวที่แล้ว เว้นแต่กรณีดังนี้
ก. วงกลมมีระยะห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นเขตสนามน้อยกว่า 1 เมตร ในกรณีนี้ผู้เล่นต้องเขียนวงกลมให้ห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้น ขอบสนามตามที่กติกาได้กำหนดไว้
ข. โยนลูกเป้าไม่ได้ระยะตามที่กติกากำหนดไว้ แม้จะโยนไปในทิศทางใดก็ตาม กรณีนี้ผู้เล่นต้องถอยหลังตามแนวตรง (ตั้งฉาก)จากตำแหน่ง เดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้วจนกว่าจะได้ระยะในการโยนตามที่กติกากำหนดไว้ แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกิน 11 เมตร นับจากเส้นสนามด้านบน จนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
ค. ลูกเป้าที่อยู่ในระยะการโยนหรือเล่นได้ แต่ผู้เล่นที่มีสิทธิ์โยนลูกเป้าไม่ประสงค์จะเล่นในระยะนั้นๆ กรณีนี้ผู้เล่นสามารถถอยหลังตาม แนวตรง(ตั้งฉาก)จากตำแหน่งเดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้วนั้นได้ตามความพอใจ แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกิน 11 เมตร นับจากเส้นสนามด้านบน จนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
ง. ถ้าผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน โยนลูกเป้าไปแล้ว 3 ครั้ง ยังไม่ได้ดีตามกติกาที่กำหนด จะต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้โยน ซึ่งมีสิทธิ์โยนได้ 3 ครั้งเช่นเดียวกัน และอาจย้ายวงกลมถอยหลังได้ตามแนวตรง(ตั้งฉาก)แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลัง ได้ไม่เกิน 11 เมตร นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้ สุด วงกลมที่เขียนขึ้นใหม่นั้นจะเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้แม้ว่าผู้เล่นของทีมหลัง นี้จะโยนลูกเป้าไม่ดีทั้ง 3 ครั้งก็ตาม
จ. ถึงแม้ทีมที่โยนลูกเป้า 3 ครั้งแรกโยนไม่ได้ดีตามที่กติกากำหนดก็ตาม แต่ทีมที่โยนลูกเป้าครั้งแรกนั้นยังมีสิทธิ์เป็นฝ่ายโยนลูกเปตอง ลูกแรกอยู่
ข้อ 4. ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถูก ผู้ตัดสิน ผู้เล่น ผู้ดู สัตว์ หรือสิ่งที่เคลื่อนไหวอื่นๆ แล้วหยุดให้นำมาโยนใหม่ โดยไม่นับรวมอยู่ในการโยน 3 ครั้งที่ได้กำหนดไว้
4.1 หลังจากการโยนลูกเป้าและลูกเปตองลูกแรกไปแล้ว ฝ่ายตรงข้ามยังมีสิทธิ์ประท้วงว่าด้วยตำแหน่งของลูกเป้านั้นได้ ถ้าการประท้วงนั้นถูกต้อง ให้เริ่มโยนลูกเป้าและลูกเปตองใหม่
4.2 ถ้าฝ่ายตรงข้ามได้โยนลูกเปตองไปด้วยแล้ว 1 ลูก ให้ถือว่าตำแหน่งลูกเป้านั้นดี และไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น
ข้อ 5. ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าฟาล์วมี 5 กรณี ดังนี้
5.1 เมื่อลูกเป้าที่โยนไปแล้วไม่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3
5.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ออกนอกเส้นฟาล์ว แต่ลูกเป้าคาบเส้น ยังถือว่าดีอยู่ลูกเป้าที่ถือว่าฟาล์ว คือลูกเป้าที่ได้ออกเส้นฟาล์วเท่านั้น
5.3 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถมองเห็นจากวงกลมตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.4 แต่ถ้าลูกเป้าถูกลูกเปตองบังอยู่ไม่ถือว่าฟาล์ว ทั้งนี้ผู้ตัดสินมีสิทธิ์ที่จะยกลูกเปตองที่บังอยู่ออกชั่วคราวเพื่อตรวจสอบ ว่า ลูกเป้านั้นมองเห็นได้ชัดเจนหรือไม่
5.4 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปมีระยะห่างจากวงกลมเกินกว่า 20 เมตร หรือน้อยกว่า 3 เมตร
5.5 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว หาไม่พบ ภายใน 5 นาที
ข้อ 6. ก่อนหรือหลังการโยนลูก เป้าห้ามผู้เล่นปรับพื้นที่ หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ใบไม้ ฯลฯ ในบริเวณสนามแข่งขันโดยเด็ดขาด เว้นแต่ผู้เตรียมตัวจะลงเล่นเท่านั้นมีสิทธิ์ที่จะปรับสนามที่มีหลุมซึ่ง เกินจากการโยนลูกเปตองของผู้เล่น คนที่แล้วและอาจใช้ลูกเปตองปรับหลุมนั้นได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎจะต้องถูกลงโทษดังนี้
6.1 ถูกเตือน
6.2 ปรับลูกที่เล่นไปแล้วนั้นหรือลูกที่กำลังจะเล่นเป็นลูกฟาล์ว
6.3 ปรับเฉพาะผู้กระทำผิดให้งดเล่น 1 เที่ยว
6.4 ปรับเป็นแพ้ทั้งทีม
6.5 ปรับให้แพ้ทั้ง 2 ทีม ถ้ากระทำผิดเหมือนกัน หรือสมรู้ร่วมคิดกัน
ข้อ 7. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากมีใบไม้ กระดาษหรือสิ่งอื่นๆมาบังลูกเป้าโดยบังเอิญให้เอาออกได้
7.1 เมื่อลูกเป้าหยุดนิ่งแล้ว และเคลื่อนที่ไปใหม่โดยแรงลมพัด หรือจากการลาดเอียงของพื้นสนาม จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม
7.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นจากผู้ตัดสิน ผู้ดู สัตว์ สิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ รวมทั้งลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เคลื่อนที่มาจาก สนามอื่นให้นำลูกเป้านั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ต้องมีเครื่องหมายกำหนดจุดเดิมของลูกเป้า
7.3 เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นควรทำเครื่องหมายบนพื้นสนามตามตำแหน่งของลูกเป้าหรือลูกเปตองไว้มิ ฉะนั้นจะไม่มี สิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น
7.4 ลูกเป้าที่อยู่บนพื้นสนามซึ่งมีน้ำขังอยู่ถือว่าดี หากลูกเป้านั้นยังไม่ลอยบนน้ำ
ข้อ 8. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีกสนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่
8.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้นจะต้องหยุดรอเพื่อคอยให้ผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบก่อน
8.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตามข้อ 8.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจความอดทนและความเอื้ออารีย์ต่อกัน
ข้อ 9. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาล์วขึ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
9.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่การเล่นเที่ยวนั้น ถือว่าโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
9.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลืออยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะได้คะแนนเท่ากับจำนวนลูก เปตองที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องเล่น และจะเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
9.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเหมือนกัน ให้เริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยให้ทีมที่ได้คะแนนเที่ยวที่แล้วเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
ข้อ 10. ลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม
10.1 ถ้าลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดู หรือผู้ตัดสินแล้วหยุด ให้ลูกเป้านั้นอยู่ในตำแหน่งใหม่
10.2 ถ้าลูกเป้าถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ลูกเป้าหยุดมีสิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
ก. ให้ลูกเป้าอยู่ตำแหน่งใหม่
ข. นำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม
ค. วางลูกเป้าตามแนวยาวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในกติกาแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติ
10.3 กรณีตามข้อ 10.2 (ข) และ(ค) จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งลูกเป้าไว้เท่านั้นมิ ฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้านั้นอยู่ที่ตำแหน่งใหม่
ข้อ 11. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้า เคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่นถือว่ายังดีอยู่ ในเที่ยวต่อไป จะต้องกลับมาเล่นที่สนามเดิมด้านตรงข้ามแต่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกติกา ข้อ 3 ในวิธีการเล่น
ข้อ 12. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีกสนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่
12.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้นจะต้องหยุดรอเพื่อคอยให้ผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบก่อน
12.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตามข้อ 12.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจความอดทนและความเอื้ออารีย์ต่อกัน
ข้อ 13. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาล์วขึ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
13.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่การเล่นเที่ยวนั้น ถือว่าโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
13.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือผยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะได้คะแนนเท่ากับจำนวนลูกเปตองที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องเล่น และจะเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
13.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเหมือนกัน ให้เริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยให้ทีมที่ได้คะแนนเที่ยวที่แล้วเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
ข้อ 14., ลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม
14.1 ถ้าลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดู หรือผู้ตัดสินแล้วหยุดให้ลูกเป้านั้นอยู่ในตำแหน่งใหม่
14.2 ถ้าลูกเป้าถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ลูกเป้าหยุดมีสิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
ก. ให้ลูกเป้าอยู่ตำแหน่งใหม่
ข. นำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม
ค. วางลูกเป้าตามแนวยาวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในกติกาแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติ
14.3 กรณีตามข้อ 14.2 (ข) และ(ค) จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งลูกเป้าไว้เท่านั้นมิ ฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้านั้นอยู่ที่ตำแหน่งใหม่
ข้อ 15. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้า เคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่นถือว่ายังดีอยู่ ในเที่ยวต่อไป จะต้องกลับมาเล่นที่สนามเดิมด้านตรงข้ามแต่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกติกา ข้อ 7
ลูกเปตอง
ข้อ 16. ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมที่ชนะในการเสี่ยงหรือชนะในเที่ยวที่แล้วเป็นผู้โยนลูกเป้า และลูกเปตองลูกแรก
16.1 ห้ามผู้เล่นใช้เครื่องช่วยอื่นใดหรือแม้แต่ขีดเส้นบนพื้นสนามเพื่อเป็นที่ สังเกตุจุดตกของลูกเปตองที่ตนจะโยนและไม่อนุญาตให้ ผู้เล่นถือลูกเปตองหรือสิ่งอื่นในมืออีกข้างหนึ่งในขณะโยนลูกเปตองลูกสุด ท้ายของตน (ยกเว้นผ้าเช็ดลูกเปตอง)
16.2 ห้ามทำให้ลูกเปตองหรือลูกเป้าเปียกน้ำ (ยกเว้นกรณีฝนตก)
16.3 ถ้าลูกเปตองลูกแรกที่เล่นไปแล้วเกิดฟาล์ว ต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้เล่น และถ้าลูกที่โยนไป ยังฟาล์วอยู่จะสลับกันโยน ฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโยนลูกเปตองได้ดีแล้ว จึงเล่นต่อไปตามปกติ
16.4 ฝ่ายใดที่ทำให้ลูกเปตองในสนามฟาล์วทั้งหมดโดยไม่มีลูกเปตองเหลืออยู่ในสนาม ฝ่ายที่ทำให้ลูกเปตองฟาล์วจะต้องเป็นฝ่ายเล่น ลูกต่อไป ทั้งนี้หากมีปัญหาให้ใช้กติกาข้อ 29 เป็นหลัก
ข้อ 17. เมื่อผู้เล่นคนหนึ่งคนใต ได้เข้าไปยืนอยู่ในวงกลมเพื่อเตรียมเล่นแล้ว ผู้ดูและนักกีฬาทุกคนต้องอยู่ใน ความสงบ
17.1 ห้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเดินหรือแสดงท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นการรบกวน สมาธิของผู้ที่กำลังเล่น เว้นแต่ผู้ร่วมทีมเท่านั้น ที่มีสิทธิ์เข้าไปอยู่ในสนาม เพื่อแนะแนวทางการโยนลูกเปตองของฝ่ายตนได้
17.2 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องยืนอยู่ด้านข้าง หรือด้านหลังของผู้เตรียนมเล่นและจะต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร
17.3 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎข้อ 17 ผู้ตัดสิน จะต้องเตือนก่อน 1 ครั้ง และถ้ามีการฝ่าฝืนซ้ำอีก ผู้ตัดสินอาจพิจารณาให้ออกจากการ แข่งขันก็ได้
ข้อ 18. ลูกเปตองทุกลูกที่โยน ไปแล้ว ห้ามนำมาโยนใหม่เว้นแต่ลูกเปตองที่โยนไปแล้วถูกหยุด หรือเปลี่ยน ทิศทางโดยบังเอิญ เนื่องจากถูกลูกเปตองหรือลูกเป้าซึ่งเคลื่อนที่มาจากสนามอื่นหรือถูกสัตว์ และสิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ กรณีนี้ให้นำลูกเปตองกลับมาโยน ใหม่ได้
18.1 ห้ามทดลองโยนลูกเปตองในระหว่างการแข่งขัน
18.2 เมื่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้กำหนดเส้นเขตสนามแต่ละสนามเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นแต่ละทีมจะต้องลงทำการแข่งขันใน สนามที่กำหนดให้ ในระหว่างการเล่นหากลูกเปตองออกนอกสนามให้ถือว่ายังดีอยู่ (เว้นแต่ที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19)
18.3 ในการณีที่สนามแข่งขันทั้งหมดมีขอบกั้นอยู่ ขอบกั้นนั้นจะต้องอยู่รอบนอกขอบเส้นฟาล์ว และจะต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร
18.4 เส้นฟาล์วจะต้องอยู่รอบนอกเส้นเขตสนามและจะต้องห่างกัน 1 เมตร เป็นอย่างน้อย และไม่เกิน 4 เมตร เป็นอย่างมาก
ข้อ 19. ลูกเปตองทุกลูกที่ กลิ้งผ่านเส้นฟาล์วและย้อนกลับเข้ามาในสนามถือว่าเป็นลูกฟาล์วแต่ถ้าลูกเปต อง ทับอยู่บนเส้นฟาล์วยังไม่ผ่านเลยออกไปให้ถือว่าเป็นลูกดีอยู่ ลูกจะฟาล์วก็ต่อเมื่อได้ผ่านพ้นเส้นเขตสนาม และเส้นฟาล์วออกไปทั้งลูก
19.1 ถ้าลูกเปตองผ่านพ้นเส้นฟาล์วและไปกระทบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือจากความลาด เอียงของพื้นที่ทำให้ลูก เปตองนั้นย้อนกลับ เข้ามาในสนามอีก ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว และทุกสิ่งที่ถูกเคลื่อนที่โดยลูกเปตองที่ฟาล์วนั้นให้กลับมาวางที่ตำแหน่ง เดิมทั้งหมด ส่วนสิ่งของที่ไม่อยู่ในการเล่นให้ เอาออกพ้นสนามทันที
19.2 ลูกเปตองที่ฟาล์วแล้ว ต้องนำออกนอกสนามทันที มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นลูกดีหลังจากการโยนลูกเปตองอีกลูกหนึ่งไปแล้ว
ข้อ 20. ลูกเปตองลูกที่โยนไปแล้วถูกทำให้หยุด ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้
20.1 โดยผู้ดู หรือผู้ตัดสินให้ลูกเปตองนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด
20.2 โดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว
20.3 โดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายผู้เล่นจะโยนใหม่ หรือรักษาตำแหน่งที่ลูกเปตองนั้นหยุดก็ได้
20.4 เมื่อลูกเปตองหนึ่งที่ถูกยิงไปแล้วถูกทำให้หยุดโดยผู้เล่นคนหนึ่งผู้เล่น ฝ่ายตรงข้ามของผู้ที่ทำให้ลูกเปตองนั้นหยุด อาจเลือกเล่น ตามกฎข้อย่อย ดังนี้
(ก) ให้ลูกเปตองนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด
(ข) ให้นำลูกเปตองนั้นมาวางตามแนวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่ตามความพอ ใจแต่ต้องเป็นตำแหน่งที่สามารถเล่นต่อได้และ ได้ทำเครื่องหมายไว้ก่อนเท่านั้น
(ค) ผู้เล่นที่มีเจตนาทำให้ลูกเปตองที่เคลื่อนที่หยุดจะถูกปรับให้แพ้ทั้งทีมทันที
ข้อ 21. เมื่อโยนลูกเปตอง หรือลูกเป้าไปแล้วผู้เล่นทุกคนมีเวลาสำหรับโยนลูกเปตองภายใน 1 นาที โดยเริ่มจับ เวลาตั้งแต่ลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เล่นไปแล้วนั้นหยุด หากมีการวัดเกิดขึ้น ให้เริ่มจับเวลาเมื่อการวัดนั้นเสร็จสิ้นลง
21.1 กฎกำหนดเวลานี้ให้ใช้สำหรับการโยนลูกเป้าทุกครั้งด้วย
21.2 ผู้เล่นที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกำหนดเวลานี้ จะถูกลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 10.
ข้อ 22. ถ้าลูกเปตองลูกหนึ่ง หยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่ไปใหม่ เนื่องจากถูกลมพัดหรือเนื่องจากความลาดเอียงของ สนามก็ตามจะต้องนำลูกเปตองนั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิมสำหรับลูกเปตองนั้นมาวาง ที่ตำแหน่งเดิมสำหรับลูกเปตองที่เคบื่อนที่โดยอุบัติเหตุจากผู้เล่น ผู้ดู สัตว์ สิ่งที่เคลื่อนไหวอื่นๆ ก็จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมเช่นเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วง ทั้งปวง ผู้เล่นทุกคนควรทำเครื่องหมายตาม ตำแหน่งลูกเป้า และลูกเปตองไว้ทั้งหมด
ข้อ 23. ผู้
เล่นที่นำลูกของผู้อื่นไปเล่นจะถูกเตือน 1 ครั้ง
และลูกเปตองที่เล่นไปนั้นยังคงถือว่าเป็นลูกดี
และต้องนำลูกเปตองของตนไปเปลี่ยนแทนที่ตำแหน่งนั้นทันที
เมื่อการวัดได้สิ้นสุดลง
23.1 ถ้ามีการกระทำผิดซ้ำในเกมส์เดียวกันให้ถือว่าลูกเปตองนั้นเป็นลูกฟาล์วและ ทุกสิ้งที่ถูกลูกเปตองนั้นทำให้เคลื่อนที่ไปจะต้อง นำกลับมาวางไว้ที่เดิม
23.2 ก่อนการโยนลูกเปตองทุกครั้งผู้เล่นจะต้องทำความสะอาดลูกเปตองของตน มิให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดติดอยู่มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามที่ กำหนดไว้ในข้อ 10.
ข้อ 24. ลูกเปตองทุกลูกที่โยน ไปผิดเงื่อนไขตามกติกา ถือว่าเป็นลูกฟาล์วและทุกสิ่งที่ถูกลูกเปตองนั้นทำให้เคลื่อน ที่ไปจะต้องนำมาวางที่ตำแหน่งเดิมกฎนี้ให้ใช้สำหรับลูกเปตองที่ผู้เล่นยืน ผิดวงกลมซึ่งไม่ใช่วงกลมเดิมที่โดยลูกเป้าที่ถูกต้อง (ทีมที่โยนลูกเป้าต้องลบรอยขีด วงกลมเก่าที่อยู่บริเวณใกล้เคียงออกให้หมด)
ในกรณีเช่นนนี้ฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ปฏิบัติตามกฎว่าด้วยการได้เปรียบและ ยอมให้ลูกเปตองที่โยนไปนั้นเป็นลูกดีก็ได้ ถ้าเห็นว่า ลูกของฝ่ายตนได้เปรียบคู่ต่อสู้
การวัดระยะและการวัดคะแนน
ข้อ 25. ในการวัดคะแนนอนุญาต ให้โยกย้ายลูกเปตองหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ ที่อยู่ระหว่างลูกเป้าและลูกเปตอง ที่เกี่ยวข้องได้แต่ต้องทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งสิ่งนั้น ๆ ไว้ก่อนโยกย้ายเมื่อการวัดคะแนนเสร็จสิ้นลง ให้นำทุกสิ่งที่โยกย้ายไปนั้นกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม ทั้งหมด ถ้าสิ่งกีดขวางที่มีปัญหานั้นไม่อาจโยกย้ายได้ ให้ใช้วงเวียนทำการวัด
ข้อ 26. ใน การวัดคะแนนระหว่างลูกเปตอง 2 ลูก ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมากผู้เล่นคนหนึ่งได้วัดไปแล้ว และบอกว่า ฝ่ายตนได้ ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ที่จะวัดใหม่ เพื่อความแน่ใจและถูกต้อง ( ส่วนอุปกรณ์การวัด ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานห้ามวัดโดยการนับระยะ เท้า ) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้วัดคะแนนแล้วหลายครั้งยังตกลงไม่ได้ต้องให้ผู้ตัดสิน เป็นผู้วัดเพื่อตัดสิน และผลการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุดยุติ และหากผู้เล่นฝ่าฝืน กติกาข้อนี้ให้ผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง หากยังฝ่าฝืนอีกให้ปรับเป็นแพ้
ข้อ 27. เมื่อเสร็จสิ้นการ
แข่งขันแต่ละเที่ยวลูกเปตองทุกลูกที่ถูกนำออกก่อนการวัดคะแนน
ให้ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว และไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น
ข้อ 28. ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดทำการวัดคะแนนแล้ว ไปทำให้ลูกเป้าหรือลูกเปตองที่มีปัญาหานั้นเคลื่อนที่ จะต้องเป็นฝ่ายเสียคะแนนนั้นไป และในการวัดแต่ละครั้งต้องให้ผู้เล่นของทีมที่ทำให้ลูกเปตองเกิดปัญหา ทำการวัดก่อนทุกครั้งไปในการวัดคะแนนแต่ ละครั้งก่อนทำการวัด ผู้ตัดสินต้องทำการคาดคะเนเสียก่อนว่าลูกใดได้เปรียบและถ้าได้วัดไปแล้ว บังเอิญผู้ตัดสินไปทำให้ลูกเปตองหรือลูกเป้าเคลื่อนที่ ผู้ตัดสินจะต้องทำการวัดใหม่ และภายหลังการวัดปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าชนะยังคงชนะอยู่ ให้กรรมการตัดสินตามความเป็นจริง แต่ถ้าการวัด ครั้งใหม่แล้วปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าจะชนะกลับแพ้ ให้ผู้ตัดสินตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม
ข้อ 29. ในกรณีที่ลูกเปตองของทั้งสองฝ่ายมีระยะห่างจากลูกเป้าเท่ากันหรือติดกับลูกเป้าทั้ง 2 ลูก ให้ปฏิบัติตามกฎ ข้อย่อย ดังนี้
29.1 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเล่นแล้วการเล่นเที่ยวนั้นถือว่าเป็นโมฆะ จะต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยผู้เล่นฝ่ายที่ได้คะแนน ในเที่ยวที่แล้วเป็นผู้โยนลูกเป้า
29.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะต้องเล่นจนหมดลูกเปตองเพื่อทำคะแนนเพิ่มเติมตามจำนวนลูก เปตองที่อยู่ใกล้เป้ามากที่สุด
29.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีลูกเปตองเหลืออยู่ ฝ่ายที่โยนลูกเปตองที่หลังจะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไปถ้าลูกเปตองทั้งสอง ฝ่ายยังเสมอกัน อยู่อีกต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เล่นและต้องสลับกันโยนฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้คะแนนแล้วเล่นต่อไปตามปกติ
ข้อ 30. หากมีสิ่งหนึ่งสิงใดเกราะติดกับลูกเปตองหรือลูกเป้าจะต้องเอาสิ้งนั้นออกก่อนการวัดคะแนนทุกครั้ง
ข้อ 31. การเสนอข้อประท้วงต่อ ผู้ตัดสินจะกระทำได้ในระหว่างการแข่งขันของแต่ละเกมส์เท่านั้น เมื่อเกมส์การ แข่งขันนั้นๆ ได้สิ้นสุดลงจะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ผู้เล่นทุกคนต้องคอยระวังการละเมิดกติกาของฝ่ายตรงข้าม บัตรประจำตัว นักกีฬา รุ่นของผู้เล่น สนามแข่งขัน มาตรฐานของลูกเปตอง เป็นต้น
ข้อ 32. ในขณะทำการจับสลากและ การประกาศผลการจับสลาก ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่พร้อมกันที่โต๊ะอำนวยการ หลังจากการประกาศผลไปแล้ว 15 นาทีทีมที่ไม่ได้ลงสนามแข่งขันจะถูกปรับเสียคะแนนให้แก่ฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
32.1 หากเกินกำหนดเวลา 15 นาทีไปแล้ว การปรับคะแนนจะทวีเพิ่มขึ้น 1 คะแนนทุกๆ 5 นาที
32.2 บทลงโทษตามข้อ 32 จะมีผลบังคับหลังจากการประกาศให้เริ่มทำการแข่งขันทุกครั้ง
32.3 หลังจากประกาศการแข่งขันได้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมง ทีมที่ยังไม่ได้ลงแข่งขันจะถูกปรับให้เป็นผู้แพ้ในเกมส์นั้น
32.4 ทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนก็ต้องลงทำการแข่งขันตามเวลากำหนดโดยไม่ อนุญาตให้รอผู้ร่วมทีมที่มาล่าช้าและจะเล่นลูกเปตอง ได้ตามจำนวนที่ผู้เล่นมีสิทธิ์เท่านั้น(ตามประเภทที่แข่งขัน)
ข้อ 33. เมื่อการแข่งขันใน เที่ยวนั้นได้เริ่มเล่นไปแล้ว ผู้เล่นที่มาล่าช้าไม่มีสิทธิ์ลงเล่นในเที่ยวนั้นทันที แต่อนุญาตให้ลงเล่นในเที่ยวต่อไปได้
33.1 เมื่อการแข่งขันในเกมส์นั้น ได้ดำเนินไปแล้ว 1 ชั่วโมง ผู้เล่นที่มาล่าช้าหมดสิทธิ์ลงทำการแข่งขันในเกมส์นั้น
33.2 ถ้าการแข่งขันนั้นแบ่งเป็นสายจะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่ง ขันในเกมส์ที่ 2 ได้ไม่ว่าผลการแข่งขันในเกมส์แรกจะ แพ้หรือชนะก็ตาม
33.3 หากทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนสามารถชนะการแข่งขันในเกมส์นั้นจะ อนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่งขันในเกมส์ต่อไปได้ แต่ต้องเป็นผู้เล่นของทีมนั้น และต้องมีชื่อถูกต้องในใบสมัครด้วย
33.4 การแข่งขันแต่ละเที่ยวจะถือว่าเริ่มขึ้นแล้วก็ต่อเมื่อ ลูกเป้าที่โยนไปในสนามนั้นได้ตำแหน่งถูกต้องตามกติกา
ข้อ 34. การ เปลี่ยนตัวผู้เล่น จะอนุญาตให้กระทำได้ก่อนการจับสลากการแข่งขันเท่านั้น และต้องเป็นผู้เล่น ที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในการแข่งขันเดียวกัน
ข้อ 35. ในระหว่างการแข่งขัน หากมีฝนตก ให้แข่งขันต่อไปจนจบเที่ยวเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถแข่งขัน ต่อไปจนจบเที่ยวหรือไม่สามรถแข่งขันต่อไปได้ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดเท่านั้น ที่มีอำนาจให้หยุดพัการแข่งขันชั่วคราวหรือยกเลิกการแข่งขันนั้น
35.1 หลังจากการประกาศเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในรอบใหม่แล้รอบสองหรือรอบ ต่อๆไป หากยังมีบางทีมและบางสนามยังแข่งไม่ เสร็จ ผู้ตัดสินอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ตนเห็นสมควรด้วยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการจัดการแข่งขันเพื่อให้การแข่งขันนั้นดำเนินไป ด้วยดี
35.2 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนที่จะออกไปจากสนาม ตัองได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสียก่อน มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตาม ที่กำหนดไว้ในข้อ 32 และข้อ 33
ข้อ 36. ในการแข่งขันรอบชิง ชนะเลิศ หรือรอบอื่นๆ ก็ตาม ห้ามผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสมยอมกัน หรือแบ่งรางวัล กันโดยเด็ดขาด ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายแข่งขันกันไม่สมศักดิ์ศรี เป็นการหลอกลวงผู้ดู ผู้ควบคุมทีม และผู้ตัดสิน ผู้เล่นทั้งสองทีมจะถูกลงโทษให้ออกจาก การแข่งขันและผลการแข่งขันที่ผ่านมาก่อนหน้านั้น ก็ให้ถือเป็นโมฆะด้วยนอกจากนั้นแล้ว ผู้เล่นทั้งสองทีม จะต้องถูกพิจารณาลงโทษตามที่กำหนด ไว้ใน ข้อ 37 อีกด้วย
ข้อ 37. ผู้เล่นที่มีพฤติกรรม อันเป็นการผิดมารยาทอย่างรุนแรงต่อผู้ควบคุมทีม ผู้ตัดสิน ผู้เล่นคนอื่นๆ หรือผู้ดูจะถูกลงโทษตามสภาพของความผิด ดังนี้
ก. ให้ออกจากการแข่งขัน
ข. ถอนใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา)
ค. งดให้รางวัล หรือเงินรางวัล
37.1 การลงโทษผู้เล่นที่กระทำผิดอาจมีผลถึงผู้ร่วมทีมด้วย
37.2 บทลงโทษ (ก) และ (ข) เป็นอำนาจของผู้ตัดสิน
37.3 บทลงโทษ (ค) เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดการแข่งขันที่จะต้องทำรายงาน และส่งรางวัลที่ยึดไว้นั้นให้สมาคมสหพันธ์ฯ ทราบภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป
37.4 การลงโทษทุกกรณี เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารสมาคมมสหพันธ์ฯ ที่จะพิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ข้อ 38. ผู้ตัดสินทุกคนที่ได้ รับการแต่งตั้งจากสหพันธ์เปตองนานาชาติหรือสมาคมสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทย มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลให้การแข่งขันดำเนินไปอย่างมีระเบียบและถูกต้องตาม กติกาอย่างเคร่งครัด และมีอำนาจให้ผู้เล่นทุกคน หรือทุกทีมที่ปฏิเสธ ไม่ปฏิบัติตามคำสัดสิน ออกจากการแข่งขันได้
38.1 หากมีผู้ซึ่งเป็นนักกีฬาในสังกัดของสหพันธ์ฯ เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการจราจลในสนามแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องรายงานให้สหพันธ์ฯทราบ ทางสหพันธ์ฯจะได้เรียกตัวผู้กระทำผิดนั้นมาชี้แจงต่อคณะกรรมการระเบียบ วินัย เพื่อพิจารณาลงโทษต่อไป
ข้อ 39. หากกรณีอื่นใดที่มิ ได้กำหนดไว้ในกติกานี้ เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะต้องขอความร่วมมือคณะกรรมการ ชี้ขาดการแข่งขันครั้งนั้นเพื่อพิจารณาตัดสินชี้ขาดตามสมควรแก่กรณี (คณะกรรมการชี้ขาดประกอบด้วยกรรมการ 3 คนหรือ 5 คน)
39.1 การชี้ขาดของคณะกรรมการผู้ตัดสินชี้ขาดถือเป็นการสิ้นสุด ในกรณีมีเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการผู้ตัดสินชี้ขาดเป็นผู้ชี้ขาด
39.2 ผู้เล่นทุกคนจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อย การไม่สวมเสื้อ ไม่สวมร้องเท้า ถือว่ามีความผิด ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎนี้ถ้าผู้ ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง และหากยังเพิกเฉยฝ่าฝืนอยู่อีกจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน
ข้อ 1. เปตองเป็นกีฬาที่เล่นโดยมีผู้เล่น 2 ฝ่าย และแบ่งการเล่นออกได้ ดังนี้
- ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน (Triples)
- ผู้เล่นฝ่ายละ 2 คน (Doubles)
- ผู้เล่นฝ่ายละ 1 คน (Single)
1.1 ในการเล่นฝ่ายละ 3 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 2 ลูก
1.2 ในการเล่นฝ่ายละ 2 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก
1.3 ในการเล่นฝ่ายละ 1 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก
1.4 ห้ามจัดให้มีการเล่นนอกเหนือจากกฎที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 1 นี้
ข้อ 2. ลูกเปตองที่ใช้เล่นต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์เปตองนานาชาติหรือสมาคมสหพันธ์ เปตองแห่งประเทศไทยฯ และต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
ข. มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 7.05-8.00 เซนติเมตร
ค. มีน้ำหนักระหว่าง 650 - 800 กรัม จะต้องมีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนักและเลขรหัส ปรากฏบนลูกเปตอง อย่างชัดเจน
ง. เป็นลูกเปตองที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ และห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ไม่ว่าจะใช้ตะกั่วบัดกรี หรือนำเอาดินทราย มาติดเพิ่มหรือใส่ลงในลูกเปตองในลักษณะที่มีเจตนาส่อไปในทางทุจริตแต่อนุญาต ให้เจ้าของสลักชื่อ หรือเครื่องหมายบนลูกเปตอง
2.1 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎข้อ 2(ง) จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน
2.2 ลูกเปตองที่ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษดังนี้
ก. กรณีปลอมแปลงลูกเปตองผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต(บัตรประจำตัวนักกีฬา) 15 ปี และอาจถูก ลงโทษจากคณะกรรมการวินัยอีกด้วย
ข. กรณีใช้ความร้อนเพื่อดัดแปลงสภาพของลูกเปตอง ผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต (บัตรประจำตัว นักกีฬา) 2 ปี และห้ามเข้าทำการแข่งขันชนะเลิศแห่งชาติ และนานาชาติเป็นระยะเวลา 3 - 5 ปี
2.3 กรณีหนึ่งกรณีใดที่ได้ระบุไว้ใน ข้อ 2.2 (ก) และ(ข) ถ้าผู้เล่นได้ยืมลูกเปตองจากผู้อื่นมาเล่น เจ้าของลูกเปตองผู้ให้ยืม จะถูกลงโทษภาคทัณฑ์เป็นระยะเวลา 2 ปี
2.4 ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระทำทุจริต แต่เนื่องจากลูกเปตองนั้นเก่ามากหรือมีการผิดพลาดจากโรงงานผู้ผลิตและเมื่อ ตรวจสอบแล้วไม่ได้ลักษณะตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2 (ก),(ข),และ(ค) จะต้องเปลี่ยนลูกเปตองนั้นทันทีและอาจเปลี่ยนแปลงเกมส์การเล่นใหม่
2.5 เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ก่อนทำการแข่งขันทุกครั้ง ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายควรตรวจสอบลูกเปตองของตน และฝ่ายตรง ข้ามให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2(ก),(ข)และ(ค)
2.6 ในกรณีที่มีการผ่าลูกเปตองเพื่อตรวจสอบ ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระทำการทุจริต ฝ่ายประท้วงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ หรือเปลี่ยนลูกเปตองนั้นให้แก่ฝ่ายเสียหายและเจ้าของลูกเปตองไม่มีสิทธิ์ที่ จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆอีก
2.7 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินและกรรมการชี้ขาดอาจตรวจสอบลูกเปตองของผู้เล่นทุกคนได้ทุกเวลา
2.8 การประท้วงของนักกีฬาว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบลูกเปตองจะกระทำได้ในระหว่างการเล่น 2 เที่ยวแรกเท่านั้น
2.9 หลังจากเล่นเที่ยวที่ 3 แล้วถ้ามีการประท้วงเกี่ยวกับลูกเปตองของฝ่ายตรงข้ามเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า ลูกเปตอง นั้นไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ฝ่ายที่ประท้วงจะถูกปรับ 3 คะแนนโดยนำไปเพิ่มในป้ายคะแนนฝ่ายตรงข้าม
2.10 ลูกเป้าต้องทำด้วยไม้หรือใยสังเคราะห์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25 - 35 ม.ม. และอาจทาสีได้ แต่ต้องสามารถ มองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตของสนาม
ข้อ 4. ห้ามผู้เล่นทุกคนเปลี่ยนลูกเป้าหรือลูกเปตองในระหว่างการแข่งขันเว้นแต่ในกรณีดังนี้
4.1 ลูกเป้าหรือลูกเปตองหาย หาไม่พบ (กำหนดเวลาในการค้นหา 5 นาที)
4.2 ถ้าลูกเปตองหนึ่งแตกเป็น 2 ชิ้นหรือหลายชิ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
ก. ถ้าหมดลูกเปตองเล่นแล้ว ให้นับคะแนนจากชิ้นที่ใหญ่ที่สุด
ข. ถ้ายังมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่ ให้นำลูกเปตองอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปลี่ยนทันทีโดยให้นำมาวางแทน ที่ตำแหน่งชิ้นใหญ่ ที่สุดของลูกเปตองที่แตกนั้นแล้วเล่นต่อไปตามปกติกฎข้อ 4.2 นี้ ให้ใช้กับลูกเป้าด้วย
วิธีการเล่น
ข้อ 1. เปตองเป็นกีฬาที่เล่น ได้กับสนามทุกสภาพ ยกเว้นพื้นคอนกรีตพื้นไม้ และพื้นดินที่มีหญ้าขึ้นสูงโดย มีคณะกรรมการจัดการแข่งขันหรือผู้ตัดสินเป็นผู้กำหนด ผู้เล่นทุกทีมต้องเล่นในสนามที่กำหนดให้ สำหรับการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับชาติ และนานาชาติ สนามต้องมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร เป็นอย่างน้อย
1.1 ส่วนการแข่งขันอื่นๆ สมาคมสหพันธ์ฯ อาจอนุโลมให้เปลี่ยนแปลงขนาดของสนามได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมแต่ต้องมี ขนาด กว้าง 3.50 เมตร และยาว 13 เมตร เป็นอย่างน้อย
1.2 เกมส์หนึ่งกำหนดให้ใช้ 13 คะแนน สำหรับการแข่งขันในรอบแรกและรอบต่อๆไป (จะใช้เพียง 11 คะแนนก็ได้) สำหรับรอบชิงชนะเลิศ ในระดับนานาชาติ หรือแห่งชาติให้ใช้ 15 คะแนน
ข้อ 2. ผู้เล่นทุกคนต้องลงสู่สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดให้ และทำการเสี่ยงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
2.1 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นฝ่ายชนะในการเสี่ยง เป็นผู้โยนลูกเป้าเมื่อเลือกจุดเริ่มแล้วให้เขียนวงกลมบนพื้นมีขนาดพอที่ เจ้าทั้งสองข้าง เข้าไปยืนอยู่ได้ (เส้นผ่านศูนย์กลาง ระหว่าง 0.35-0.50 เมตร) วงกลมนั้นจะต้องห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร สำหรับการแข่ง ขันในสภาพสนามที่ไม่มีขอบเขตของสนามให้เขียนวงกลมห่างจากวงกลมของสนามอื่น ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
2.2 ผู้ที่เตรียมเล่น จะต้องเข้าไปยืนอยู่ภายในวงกลมห้ามเหยียบเส้นรอบวงห้ามยกเท้าพ้นพื้น และห้ามออกจากวงกลมก่อนที่ลูกเปตองจะตกถึงพื้นส่วน ส่วนอื่นของร่างกายจะถูกพื้นนอกวงกลมไม่ได้เว้นแต่คนขาพิการซึ่งได้รับ อนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้วางเท้าข้างเดียวในวงกลมได้ ส่วนนักกีฬาพิการที่ต้องนั่งรถเข็น ให้ ขีดวงกลมรอบล้อรถเข็นได้และที่วางเท้ารถเข็นต้องให้อยู่สูงเหนือขอบวงกลม
2.3 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นผู้โยนลูกเป้า ไม่บังคับว่าจะต้องเป็นผู้โยนลูกเปตองลูกแรกเสมอ ไป 2.4 ในกรณีที่สนามไม่ดี (ชำรุด) ห้ามผู้เล่นตกลงกันเองไปแข่งขันสนามอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
ข้อ 3. ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าดีจะต้องมีกฎเกณฑ์ดังนี้
3.1 มีระยะห่างระหว่างขอบวงกลมด้านใกล้ที่สุดถึงลูกเป้า
ก. ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี)
ข. ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับยุวชน (อายุระหว่าง 13-14 ปี)
ค. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับเยาวชน (อายุระหว่าง 15-17 ปี)
ง. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับผู้ใหญ่ (ไม่จำกัดอายุ)
3.2 วงกลมต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามหรือเส้นฟาล์วไม่น้อยกว่า 1 เมตร
3.3 ตำแหน่งลูกเป้าต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร
3.4 ลูกเป้าจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเป็นได้อย่างชัดเจน ขณะยืนตัวตรงอยู่ในวงกลม(ถ้ามีการโต้แย้ง ในกรณีนี้ผู้ตัดสินเป็นผู้ชี้ขาด)
3.5 การโยนลูกเป้าในเที่ยวต่อๆ ไปให้เขียนวงกลมรอบตำแหน่งที่ลูกเป้าอยู่ในเที่ยวที่แล้ว เว้นแต่กรณีดังนี้
ก. วงกลมมีระยะห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นเขตสนามน้อยกว่า 1 เมตร ในกรณีนี้ผู้เล่นต้องเขียนวงกลมให้ห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้น ขอบสนามตามที่กติกาได้กำหนดไว้
ข. โยนลูกเป้าไม่ได้ระยะตามที่กติกากำหนดไว้ แม้จะโยนไปในทิศทางใดก็ตาม กรณีนี้ผู้เล่นต้องถอยหลังตามแนวตรง (ตั้งฉาก)จากตำแหน่ง เดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้วจนกว่าจะได้ระยะในการโยนตามที่กติกากำหนดไว้ แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกิน 11 เมตร นับจากเส้นสนามด้านบน จนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
ค. ลูกเป้าที่อยู่ในระยะการโยนหรือเล่นได้ แต่ผู้เล่นที่มีสิทธิ์โยนลูกเป้าไม่ประสงค์จะเล่นในระยะนั้นๆ กรณีนี้ผู้เล่นสามารถถอยหลังตาม แนวตรง(ตั้งฉาก)จากตำแหน่งเดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้วนั้นได้ตามความพอใจ แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกิน 11 เมตร นับจากเส้นสนามด้านบน จนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
ง. ถ้าผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน โยนลูกเป้าไปแล้ว 3 ครั้ง ยังไม่ได้ดีตามกติกาที่กำหนด จะต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้โยน ซึ่งมีสิทธิ์โยนได้ 3 ครั้งเช่นเดียวกัน และอาจย้ายวงกลมถอยหลังได้ตามแนวตรง(ตั้งฉาก)แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลัง ได้ไม่เกิน 11 เมตร นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้ สุด วงกลมที่เขียนขึ้นใหม่นั้นจะเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้แม้ว่าผู้เล่นของทีมหลัง นี้จะโยนลูกเป้าไม่ดีทั้ง 3 ครั้งก็ตาม
จ. ถึงแม้ทีมที่โยนลูกเป้า 3 ครั้งแรกโยนไม่ได้ดีตามที่กติกากำหนดก็ตาม แต่ทีมที่โยนลูกเป้าครั้งแรกนั้นยังมีสิทธิ์เป็นฝ่ายโยนลูกเปตอง ลูกแรกอยู่
ข้อ 4. ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถูก ผู้ตัดสิน ผู้เล่น ผู้ดู สัตว์ หรือสิ่งที่เคลื่อนไหวอื่นๆ แล้วหยุดให้นำมาโยนใหม่ โดยไม่นับรวมอยู่ในการโยน 3 ครั้งที่ได้กำหนดไว้
4.1 หลังจากการโยนลูกเป้าและลูกเปตองลูกแรกไปแล้ว ฝ่ายตรงข้ามยังมีสิทธิ์ประท้วงว่าด้วยตำแหน่งของลูกเป้านั้นได้ ถ้าการประท้วงนั้นถูกต้อง ให้เริ่มโยนลูกเป้าและลูกเปตองใหม่
4.2 ถ้าฝ่ายตรงข้ามได้โยนลูกเปตองไปด้วยแล้ว 1 ลูก ให้ถือว่าตำแหน่งลูกเป้านั้นดี และไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น
ข้อ 5. ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าฟาล์วมี 5 กรณี ดังนี้
5.1 เมื่อลูกเป้าที่โยนไปแล้วไม่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3
5.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ออกนอกเส้นฟาล์ว แต่ลูกเป้าคาบเส้น ยังถือว่าดีอยู่ลูกเป้าที่ถือว่าฟาล์ว คือลูกเป้าที่ได้ออกเส้นฟาล์วเท่านั้น
5.3 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถมองเห็นจากวงกลมตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.4 แต่ถ้าลูกเป้าถูกลูกเปตองบังอยู่ไม่ถือว่าฟาล์ว ทั้งนี้ผู้ตัดสินมีสิทธิ์ที่จะยกลูกเปตองที่บังอยู่ออกชั่วคราวเพื่อตรวจสอบ ว่า ลูกเป้านั้นมองเห็นได้ชัดเจนหรือไม่
5.4 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปมีระยะห่างจากวงกลมเกินกว่า 20 เมตร หรือน้อยกว่า 3 เมตร
5.5 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว หาไม่พบ ภายใน 5 นาที
ข้อ 6. ก่อนหรือหลังการโยนลูก เป้าห้ามผู้เล่นปรับพื้นที่ หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ใบไม้ ฯลฯ ในบริเวณสนามแข่งขันโดยเด็ดขาด เว้นแต่ผู้เตรียมตัวจะลงเล่นเท่านั้นมีสิทธิ์ที่จะปรับสนามที่มีหลุมซึ่ง เกินจากการโยนลูกเปตองของผู้เล่น คนที่แล้วและอาจใช้ลูกเปตองปรับหลุมนั้นได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎจะต้องถูกลงโทษดังนี้
6.1 ถูกเตือน
6.2 ปรับลูกที่เล่นไปแล้วนั้นหรือลูกที่กำลังจะเล่นเป็นลูกฟาล์ว
6.3 ปรับเฉพาะผู้กระทำผิดให้งดเล่น 1 เที่ยว
6.4 ปรับเป็นแพ้ทั้งทีม
6.5 ปรับให้แพ้ทั้ง 2 ทีม ถ้ากระทำผิดเหมือนกัน หรือสมรู้ร่วมคิดกัน
ข้อ 7. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากมีใบไม้ กระดาษหรือสิ่งอื่นๆมาบังลูกเป้าโดยบังเอิญให้เอาออกได้
7.1 เมื่อลูกเป้าหยุดนิ่งแล้ว และเคลื่อนที่ไปใหม่โดยแรงลมพัด หรือจากการลาดเอียงของพื้นสนาม จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม
7.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นจากผู้ตัดสิน ผู้ดู สัตว์ สิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ รวมทั้งลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เคลื่อนที่มาจาก สนามอื่นให้นำลูกเป้านั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ต้องมีเครื่องหมายกำหนดจุดเดิมของลูกเป้า
7.3 เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นควรทำเครื่องหมายบนพื้นสนามตามตำแหน่งของลูกเป้าหรือลูกเปตองไว้มิ ฉะนั้นจะไม่มี สิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น
7.4 ลูกเป้าที่อยู่บนพื้นสนามซึ่งมีน้ำขังอยู่ถือว่าดี หากลูกเป้านั้นยังไม่ลอยบนน้ำ
ข้อ 8. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีกสนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่
8.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้นจะต้องหยุดรอเพื่อคอยให้ผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบก่อน
8.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตามข้อ 8.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจความอดทนและความเอื้ออารีย์ต่อกัน
ข้อ 9. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาล์วขึ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
9.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่การเล่นเที่ยวนั้น ถือว่าโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
9.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลืออยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะได้คะแนนเท่ากับจำนวนลูก เปตองที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องเล่น และจะเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
9.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเหมือนกัน ให้เริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยให้ทีมที่ได้คะแนนเที่ยวที่แล้วเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
ข้อ 10. ลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม
10.1 ถ้าลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดู หรือผู้ตัดสินแล้วหยุด ให้ลูกเป้านั้นอยู่ในตำแหน่งใหม่
10.2 ถ้าลูกเป้าถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ลูกเป้าหยุดมีสิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
ก. ให้ลูกเป้าอยู่ตำแหน่งใหม่
ข. นำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม
ค. วางลูกเป้าตามแนวยาวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในกติกาแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติ
10.3 กรณีตามข้อ 10.2 (ข) และ(ค) จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งลูกเป้าไว้เท่านั้นมิ ฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้านั้นอยู่ที่ตำแหน่งใหม่
ข้อ 11. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้า เคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่นถือว่ายังดีอยู่ ในเที่ยวต่อไป จะต้องกลับมาเล่นที่สนามเดิมด้านตรงข้ามแต่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกติกา ข้อ 3 ในวิธีการเล่น
ข้อ 12. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีกสนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่
12.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้นจะต้องหยุดรอเพื่อคอยให้ผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบก่อน
12.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตามข้อ 12.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจความอดทนและความเอื้ออารีย์ต่อกัน
ข้อ 13. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาล์วขึ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
13.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่การเล่นเที่ยวนั้น ถือว่าโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
13.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือผยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะได้คะแนนเท่ากับจำนวนลูกเปตองที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องเล่น และจะเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
13.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเหมือนกัน ให้เริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยให้ทีมที่ได้คะแนนเที่ยวที่แล้วเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
ข้อ 14., ลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม
14.1 ถ้าลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดู หรือผู้ตัดสินแล้วหยุดให้ลูกเป้านั้นอยู่ในตำแหน่งใหม่
14.2 ถ้าลูกเป้าถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ลูกเป้าหยุดมีสิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
ก. ให้ลูกเป้าอยู่ตำแหน่งใหม่
ข. นำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม
ค. วางลูกเป้าตามแนวยาวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในกติกาแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติ
14.3 กรณีตามข้อ 14.2 (ข) และ(ค) จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งลูกเป้าไว้เท่านั้นมิ ฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้านั้นอยู่ที่ตำแหน่งใหม่
ข้อ 15. ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้า เคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่นถือว่ายังดีอยู่ ในเที่ยวต่อไป จะต้องกลับมาเล่นที่สนามเดิมด้านตรงข้ามแต่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกติกา ข้อ 7
ลูกเปตอง
ข้อ 16. ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมที่ชนะในการเสี่ยงหรือชนะในเที่ยวที่แล้วเป็นผู้โยนลูกเป้า และลูกเปตองลูกแรก
16.1 ห้ามผู้เล่นใช้เครื่องช่วยอื่นใดหรือแม้แต่ขีดเส้นบนพื้นสนามเพื่อเป็นที่ สังเกตุจุดตกของลูกเปตองที่ตนจะโยนและไม่อนุญาตให้ ผู้เล่นถือลูกเปตองหรือสิ่งอื่นในมืออีกข้างหนึ่งในขณะโยนลูกเปตองลูกสุด ท้ายของตน (ยกเว้นผ้าเช็ดลูกเปตอง)
16.2 ห้ามทำให้ลูกเปตองหรือลูกเป้าเปียกน้ำ (ยกเว้นกรณีฝนตก)
16.3 ถ้าลูกเปตองลูกแรกที่เล่นไปแล้วเกิดฟาล์ว ต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้เล่น และถ้าลูกที่โยนไป ยังฟาล์วอยู่จะสลับกันโยน ฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโยนลูกเปตองได้ดีแล้ว จึงเล่นต่อไปตามปกติ
16.4 ฝ่ายใดที่ทำให้ลูกเปตองในสนามฟาล์วทั้งหมดโดยไม่มีลูกเปตองเหลืออยู่ในสนาม ฝ่ายที่ทำให้ลูกเปตองฟาล์วจะต้องเป็นฝ่ายเล่น ลูกต่อไป ทั้งนี้หากมีปัญหาให้ใช้กติกาข้อ 29 เป็นหลัก
ข้อ 17. เมื่อผู้เล่นคนหนึ่งคนใต ได้เข้าไปยืนอยู่ในวงกลมเพื่อเตรียมเล่นแล้ว ผู้ดูและนักกีฬาทุกคนต้องอยู่ใน ความสงบ
17.1 ห้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเดินหรือแสดงท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นการรบกวน สมาธิของผู้ที่กำลังเล่น เว้นแต่ผู้ร่วมทีมเท่านั้น ที่มีสิทธิ์เข้าไปอยู่ในสนาม เพื่อแนะแนวทางการโยนลูกเปตองของฝ่ายตนได้
17.2 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องยืนอยู่ด้านข้าง หรือด้านหลังของผู้เตรียนมเล่นและจะต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร
17.3 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎข้อ 17 ผู้ตัดสิน จะต้องเตือนก่อน 1 ครั้ง และถ้ามีการฝ่าฝืนซ้ำอีก ผู้ตัดสินอาจพิจารณาให้ออกจากการ แข่งขันก็ได้
ข้อ 18. ลูกเปตองทุกลูกที่โยน ไปแล้ว ห้ามนำมาโยนใหม่เว้นแต่ลูกเปตองที่โยนไปแล้วถูกหยุด หรือเปลี่ยน ทิศทางโดยบังเอิญ เนื่องจากถูกลูกเปตองหรือลูกเป้าซึ่งเคลื่อนที่มาจากสนามอื่นหรือถูกสัตว์ และสิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ กรณีนี้ให้นำลูกเปตองกลับมาโยน ใหม่ได้
18.1 ห้ามทดลองโยนลูกเปตองในระหว่างการแข่งขัน
18.2 เมื่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้กำหนดเส้นเขตสนามแต่ละสนามเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นแต่ละทีมจะต้องลงทำการแข่งขันใน สนามที่กำหนดให้ ในระหว่างการเล่นหากลูกเปตองออกนอกสนามให้ถือว่ายังดีอยู่ (เว้นแต่ที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19)
18.3 ในการณีที่สนามแข่งขันทั้งหมดมีขอบกั้นอยู่ ขอบกั้นนั้นจะต้องอยู่รอบนอกขอบเส้นฟาล์ว และจะต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร
18.4 เส้นฟาล์วจะต้องอยู่รอบนอกเส้นเขตสนามและจะต้องห่างกัน 1 เมตร เป็นอย่างน้อย และไม่เกิน 4 เมตร เป็นอย่างมาก
ข้อ 19. ลูกเปตองทุกลูกที่ กลิ้งผ่านเส้นฟาล์วและย้อนกลับเข้ามาในสนามถือว่าเป็นลูกฟาล์วแต่ถ้าลูกเปต อง ทับอยู่บนเส้นฟาล์วยังไม่ผ่านเลยออกไปให้ถือว่าเป็นลูกดีอยู่ ลูกจะฟาล์วก็ต่อเมื่อได้ผ่านพ้นเส้นเขตสนาม และเส้นฟาล์วออกไปทั้งลูก
19.1 ถ้าลูกเปตองผ่านพ้นเส้นฟาล์วและไปกระทบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือจากความลาด เอียงของพื้นที่ทำให้ลูก เปตองนั้นย้อนกลับ เข้ามาในสนามอีก ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว และทุกสิ่งที่ถูกเคลื่อนที่โดยลูกเปตองที่ฟาล์วนั้นให้กลับมาวางที่ตำแหน่ง เดิมทั้งหมด ส่วนสิ่งของที่ไม่อยู่ในการเล่นให้ เอาออกพ้นสนามทันที
19.2 ลูกเปตองที่ฟาล์วแล้ว ต้องนำออกนอกสนามทันที มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นลูกดีหลังจากการโยนลูกเปตองอีกลูกหนึ่งไปแล้ว
ข้อ 20. ลูกเปตองลูกที่โยนไปแล้วถูกทำให้หยุด ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้
20.1 โดยผู้ดู หรือผู้ตัดสินให้ลูกเปตองนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด
20.2 โดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว
20.3 โดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายผู้เล่นจะโยนใหม่ หรือรักษาตำแหน่งที่ลูกเปตองนั้นหยุดก็ได้
20.4 เมื่อลูกเปตองหนึ่งที่ถูกยิงไปแล้วถูกทำให้หยุดโดยผู้เล่นคนหนึ่งผู้เล่น ฝ่ายตรงข้ามของผู้ที่ทำให้ลูกเปตองนั้นหยุด อาจเลือกเล่น ตามกฎข้อย่อย ดังนี้
(ก) ให้ลูกเปตองนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด
(ข) ให้นำลูกเปตองนั้นมาวางตามแนวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่ตามความพอ ใจแต่ต้องเป็นตำแหน่งที่สามารถเล่นต่อได้และ ได้ทำเครื่องหมายไว้ก่อนเท่านั้น
(ค) ผู้เล่นที่มีเจตนาทำให้ลูกเปตองที่เคลื่อนที่หยุดจะถูกปรับให้แพ้ทั้งทีมทันที
ข้อ 21. เมื่อโยนลูกเปตอง หรือลูกเป้าไปแล้วผู้เล่นทุกคนมีเวลาสำหรับโยนลูกเปตองภายใน 1 นาที โดยเริ่มจับ เวลาตั้งแต่ลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เล่นไปแล้วนั้นหยุด หากมีการวัดเกิดขึ้น ให้เริ่มจับเวลาเมื่อการวัดนั้นเสร็จสิ้นลง
21.1 กฎกำหนดเวลานี้ให้ใช้สำหรับการโยนลูกเป้าทุกครั้งด้วย
21.2 ผู้เล่นที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกำหนดเวลานี้ จะถูกลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 10.
ข้อ 22. ถ้าลูกเปตองลูกหนึ่ง หยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่ไปใหม่ เนื่องจากถูกลมพัดหรือเนื่องจากความลาดเอียงของ สนามก็ตามจะต้องนำลูกเปตองนั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิมสำหรับลูกเปตองนั้นมาวาง ที่ตำแหน่งเดิมสำหรับลูกเปตองที่เคบื่อนที่โดยอุบัติเหตุจากผู้เล่น ผู้ดู สัตว์ สิ่งที่เคลื่อนไหวอื่นๆ ก็จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมเช่นเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วง ทั้งปวง ผู้เล่นทุกคนควรทำเครื่องหมายตาม ตำแหน่งลูกเป้า และลูกเปตองไว้ทั้งหมด
23.1 ถ้ามีการกระทำผิดซ้ำในเกมส์เดียวกันให้ถือว่าลูกเปตองนั้นเป็นลูกฟาล์วและ ทุกสิ้งที่ถูกลูกเปตองนั้นทำให้เคลื่อนที่ไปจะต้อง นำกลับมาวางไว้ที่เดิม
23.2 ก่อนการโยนลูกเปตองทุกครั้งผู้เล่นจะต้องทำความสะอาดลูกเปตองของตน มิให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดติดอยู่มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามที่ กำหนดไว้ในข้อ 10.
ข้อ 24. ลูกเปตองทุกลูกที่โยน ไปผิดเงื่อนไขตามกติกา ถือว่าเป็นลูกฟาล์วและทุกสิ่งที่ถูกลูกเปตองนั้นทำให้เคลื่อน ที่ไปจะต้องนำมาวางที่ตำแหน่งเดิมกฎนี้ให้ใช้สำหรับลูกเปตองที่ผู้เล่นยืน ผิดวงกลมซึ่งไม่ใช่วงกลมเดิมที่โดยลูกเป้าที่ถูกต้อง (ทีมที่โยนลูกเป้าต้องลบรอยขีด วงกลมเก่าที่อยู่บริเวณใกล้เคียงออกให้หมด)
ในกรณีเช่นนนี้ฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ปฏิบัติตามกฎว่าด้วยการได้เปรียบและ ยอมให้ลูกเปตองที่โยนไปนั้นเป็นลูกดีก็ได้ ถ้าเห็นว่า ลูกของฝ่ายตนได้เปรียบคู่ต่อสู้
การวัดระยะและการวัดคะแนน
ข้อ 25. ในการวัดคะแนนอนุญาต ให้โยกย้ายลูกเปตองหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ ที่อยู่ระหว่างลูกเป้าและลูกเปตอง ที่เกี่ยวข้องได้แต่ต้องทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งสิ่งนั้น ๆ ไว้ก่อนโยกย้ายเมื่อการวัดคะแนนเสร็จสิ้นลง ให้นำทุกสิ่งที่โยกย้ายไปนั้นกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม ทั้งหมด ถ้าสิ่งกีดขวางที่มีปัญหานั้นไม่อาจโยกย้ายได้ ให้ใช้วงเวียนทำการวัด
ข้อ 26. ใน การวัดคะแนนระหว่างลูกเปตอง 2 ลูก ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมากผู้เล่นคนหนึ่งได้วัดไปแล้ว และบอกว่า ฝ่ายตนได้ ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ที่จะวัดใหม่ เพื่อความแน่ใจและถูกต้อง ( ส่วนอุปกรณ์การวัด ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานห้ามวัดโดยการนับระยะ เท้า ) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้วัดคะแนนแล้วหลายครั้งยังตกลงไม่ได้ต้องให้ผู้ตัดสิน เป็นผู้วัดเพื่อตัดสิน และผลการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุดยุติ และหากผู้เล่นฝ่าฝืน กติกาข้อนี้ให้ผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง หากยังฝ่าฝืนอีกให้ปรับเป็นแพ้
ข้อ 28. ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดทำการวัดคะแนนแล้ว ไปทำให้ลูกเป้าหรือลูกเปตองที่มีปัญาหานั้นเคลื่อนที่ จะต้องเป็นฝ่ายเสียคะแนนนั้นไป และในการวัดแต่ละครั้งต้องให้ผู้เล่นของทีมที่ทำให้ลูกเปตองเกิดปัญหา ทำการวัดก่อนทุกครั้งไปในการวัดคะแนนแต่ ละครั้งก่อนทำการวัด ผู้ตัดสินต้องทำการคาดคะเนเสียก่อนว่าลูกใดได้เปรียบและถ้าได้วัดไปแล้ว บังเอิญผู้ตัดสินไปทำให้ลูกเปตองหรือลูกเป้าเคลื่อนที่ ผู้ตัดสินจะต้องทำการวัดใหม่ และภายหลังการวัดปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าชนะยังคงชนะอยู่ ให้กรรมการตัดสินตามความเป็นจริง แต่ถ้าการวัด ครั้งใหม่แล้วปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าจะชนะกลับแพ้ ให้ผู้ตัดสินตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม
ข้อ 29. ในกรณีที่ลูกเปตองของทั้งสองฝ่ายมีระยะห่างจากลูกเป้าเท่ากันหรือติดกับลูกเป้าทั้ง 2 ลูก ให้ปฏิบัติตามกฎ ข้อย่อย ดังนี้
29.1 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเล่นแล้วการเล่นเที่ยวนั้นถือว่าเป็นโมฆะ จะต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยผู้เล่นฝ่ายที่ได้คะแนน ในเที่ยวที่แล้วเป็นผู้โยนลูกเป้า
29.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะต้องเล่นจนหมดลูกเปตองเพื่อทำคะแนนเพิ่มเติมตามจำนวนลูก เปตองที่อยู่ใกล้เป้ามากที่สุด
29.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีลูกเปตองเหลืออยู่ ฝ่ายที่โยนลูกเปตองที่หลังจะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไปถ้าลูกเปตองทั้งสอง ฝ่ายยังเสมอกัน อยู่อีกต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เล่นและต้องสลับกันโยนฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้คะแนนแล้วเล่นต่อไปตามปกติ
ข้อ 31. การเสนอข้อประท้วงต่อ ผู้ตัดสินจะกระทำได้ในระหว่างการแข่งขันของแต่ละเกมส์เท่านั้น เมื่อเกมส์การ แข่งขันนั้นๆ ได้สิ้นสุดลงจะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ผู้เล่นทุกคนต้องคอยระวังการละเมิดกติกาของฝ่ายตรงข้าม บัตรประจำตัว นักกีฬา รุ่นของผู้เล่น สนามแข่งขัน มาตรฐานของลูกเปตอง เป็นต้น
ข้อ 32. ในขณะทำการจับสลากและ การประกาศผลการจับสลาก ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่พร้อมกันที่โต๊ะอำนวยการ หลังจากการประกาศผลไปแล้ว 15 นาทีทีมที่ไม่ได้ลงสนามแข่งขันจะถูกปรับเสียคะแนนให้แก่ฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
32.1 หากเกินกำหนดเวลา 15 นาทีไปแล้ว การปรับคะแนนจะทวีเพิ่มขึ้น 1 คะแนนทุกๆ 5 นาที
32.2 บทลงโทษตามข้อ 32 จะมีผลบังคับหลังจากการประกาศให้เริ่มทำการแข่งขันทุกครั้ง
32.3 หลังจากประกาศการแข่งขันได้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมง ทีมที่ยังไม่ได้ลงแข่งขันจะถูกปรับให้เป็นผู้แพ้ในเกมส์นั้น
32.4 ทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนก็ต้องลงทำการแข่งขันตามเวลากำหนดโดยไม่ อนุญาตให้รอผู้ร่วมทีมที่มาล่าช้าและจะเล่นลูกเปตอง ได้ตามจำนวนที่ผู้เล่นมีสิทธิ์เท่านั้น(ตามประเภทที่แข่งขัน)
ข้อ 33. เมื่อการแข่งขันใน เที่ยวนั้นได้เริ่มเล่นไปแล้ว ผู้เล่นที่มาล่าช้าไม่มีสิทธิ์ลงเล่นในเที่ยวนั้นทันที แต่อนุญาตให้ลงเล่นในเที่ยวต่อไปได้
33.1 เมื่อการแข่งขันในเกมส์นั้น ได้ดำเนินไปแล้ว 1 ชั่วโมง ผู้เล่นที่มาล่าช้าหมดสิทธิ์ลงทำการแข่งขันในเกมส์นั้น
33.2 ถ้าการแข่งขันนั้นแบ่งเป็นสายจะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่ง ขันในเกมส์ที่ 2 ได้ไม่ว่าผลการแข่งขันในเกมส์แรกจะ แพ้หรือชนะก็ตาม
33.3 หากทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนสามารถชนะการแข่งขันในเกมส์นั้นจะ อนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่งขันในเกมส์ต่อไปได้ แต่ต้องเป็นผู้เล่นของทีมนั้น และต้องมีชื่อถูกต้องในใบสมัครด้วย
33.4 การแข่งขันแต่ละเที่ยวจะถือว่าเริ่มขึ้นแล้วก็ต่อเมื่อ ลูกเป้าที่โยนไปในสนามนั้นได้ตำแหน่งถูกต้องตามกติกา
ข้อ 34. การ เปลี่ยนตัวผู้เล่น จะอนุญาตให้กระทำได้ก่อนการจับสลากการแข่งขันเท่านั้น และต้องเป็นผู้เล่น ที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในการแข่งขันเดียวกัน
ข้อ 35. ในระหว่างการแข่งขัน หากมีฝนตก ให้แข่งขันต่อไปจนจบเที่ยวเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถแข่งขัน ต่อไปจนจบเที่ยวหรือไม่สามรถแข่งขันต่อไปได้ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดเท่านั้น ที่มีอำนาจให้หยุดพัการแข่งขันชั่วคราวหรือยกเลิกการแข่งขันนั้น
35.1 หลังจากการประกาศเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในรอบใหม่แล้รอบสองหรือรอบ ต่อๆไป หากยังมีบางทีมและบางสนามยังแข่งไม่ เสร็จ ผู้ตัดสินอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ตนเห็นสมควรด้วยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการจัดการแข่งขันเพื่อให้การแข่งขันนั้นดำเนินไป ด้วยดี
35.2 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนที่จะออกไปจากสนาม ตัองได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสียก่อน มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตาม ที่กำหนดไว้ในข้อ 32 และข้อ 33
ข้อ 36. ในการแข่งขันรอบชิง ชนะเลิศ หรือรอบอื่นๆ ก็ตาม ห้ามผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสมยอมกัน หรือแบ่งรางวัล กันโดยเด็ดขาด ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายแข่งขันกันไม่สมศักดิ์ศรี เป็นการหลอกลวงผู้ดู ผู้ควบคุมทีม และผู้ตัดสิน ผู้เล่นทั้งสองทีมจะถูกลงโทษให้ออกจาก การแข่งขันและผลการแข่งขันที่ผ่านมาก่อนหน้านั้น ก็ให้ถือเป็นโมฆะด้วยนอกจากนั้นแล้ว ผู้เล่นทั้งสองทีม จะต้องถูกพิจารณาลงโทษตามที่กำหนด ไว้ใน ข้อ 37 อีกด้วย
ข้อ 37. ผู้เล่นที่มีพฤติกรรม อันเป็นการผิดมารยาทอย่างรุนแรงต่อผู้ควบคุมทีม ผู้ตัดสิน ผู้เล่นคนอื่นๆ หรือผู้ดูจะถูกลงโทษตามสภาพของความผิด ดังนี้
ก. ให้ออกจากการแข่งขัน
ข. ถอนใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา)
ค. งดให้รางวัล หรือเงินรางวัล
37.1 การลงโทษผู้เล่นที่กระทำผิดอาจมีผลถึงผู้ร่วมทีมด้วย
37.2 บทลงโทษ (ก) และ (ข) เป็นอำนาจของผู้ตัดสิน
37.3 บทลงโทษ (ค) เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดการแข่งขันที่จะต้องทำรายงาน และส่งรางวัลที่ยึดไว้นั้นให้สมาคมสหพันธ์ฯ ทราบภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป
37.4 การลงโทษทุกกรณี เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารสมาคมมสหพันธ์ฯ ที่จะพิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ข้อ 38. ผู้ตัดสินทุกคนที่ได้ รับการแต่งตั้งจากสหพันธ์เปตองนานาชาติหรือสมาคมสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทย มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลให้การแข่งขันดำเนินไปอย่างมีระเบียบและถูกต้องตาม กติกาอย่างเคร่งครัด และมีอำนาจให้ผู้เล่นทุกคน หรือทุกทีมที่ปฏิเสธ ไม่ปฏิบัติตามคำสัดสิน ออกจากการแข่งขันได้
38.1 หากมีผู้ซึ่งเป็นนักกีฬาในสังกัดของสหพันธ์ฯ เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการจราจลในสนามแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องรายงานให้สหพันธ์ฯทราบ ทางสหพันธ์ฯจะได้เรียกตัวผู้กระทำผิดนั้นมาชี้แจงต่อคณะกรรมการระเบียบ วินัย เพื่อพิจารณาลงโทษต่อไป
ข้อ 39. หากกรณีอื่นใดที่มิ ได้กำหนดไว้ในกติกานี้ เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะต้องขอความร่วมมือคณะกรรมการ ชี้ขาดการแข่งขันครั้งนั้นเพื่อพิจารณาตัดสินชี้ขาดตามสมควรแก่กรณี (คณะกรรมการชี้ขาดประกอบด้วยกรรมการ 3 คนหรือ 5 คน)
39.1 การชี้ขาดของคณะกรรมการผู้ตัดสินชี้ขาดถือเป็นการสิ้นสุด ในกรณีมีเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการผู้ตัดสินชี้ขาดเป็นผู้ชี้ขาด
39.2 ผู้เล่นทุกคนจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อย การไม่สวมเสื้อ ไม่สวมร้องเท้า ถือว่ามีความผิด ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎนี้ถ้าผู้ ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง และหากยังเพิกเฉยฝ่าฝืนอยู่อีกจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน