Friday, July 13, 2012

เปตอง : ประวัติกีฬาเปตอง


เปตอง : ประวัติกีฬาเปตอง
สันนิษฐาน ว่ากีฬาเปตอง เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศกรีก เมื่อประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยใช้ก้อนหินทรงกลมโยนเล่นว่าใครจะโยนได้แม่นยำกว่ากัน เมื่อโรมันครอบครองกรีกก็ได้รับเอาการเล่นกีฬาประเภทนี้ด้วย และนำไปเผยแพร่ในฝรั่งเศสทางตอนใต้เมื่อกรีกเข้าครอบครองฝรั่งเศส ในฝรั่งเศสการเล่นลูกบูลได้พัฒนาเป็นไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลมแล้วใช้ ตะปูตอกรอบ ๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้เหมาะมือ
      ค.ศ. 943 – 1543 การเล่นลูกบูลเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศส
      – พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงประกาศสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลสำหรับผู้ สูงเกียรติและ เล่นได้เฉพาะในพระราชสำนักเท่านั้น
      – พระเจ้านโปเลียนทรงประกาศให้การเล่นลูกบูลเป็นกีฬาประจำชาติ ของประเทศฝรั่งเศส และให้ประชาชนเล่นได้อย่างเสมอภาค ประมาณปี
      พ.ศ. 2443 ฝรั่งเศสออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับ กติกาการเล่นลูกบูลโปรวังซาล โดยให้วิ่ง 3 ก้าว ก่อนโยนลูกบูล
      พ.ศ. 2453 ณ ตำบลลาซิ-โอต้าท์ เมืองท่ามาร์แชลด์ ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาล โดยไม่ต้องวิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล แต่ให้ยืนโยนจากในวงกลม
พ.ศ. 2481 – ก่อตั้งสหพันธ์เปตองและโปรวังซาล – ใช้ลูกบูลโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง
      พ.ศ. 2488 กีฬาลูกบูลโปรวังซาลแพร่หลายมากในฝรั่งเศสและอาณานิคมของ ฝรั่งเศส แบ่งการเล่นเป็น 3 ประเภท คือ
1. ลิโยเน่ส์
2. โปรวังซาล (วิ่ง 3 ก้าว ก่อนโยนลูกบูล)
3. เปตอง คำว่า Petanque มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า บิเยส์-ตองเกร์ ซึ่งมีความหมายว่า ให้ยืนสองเท้าชิดติดกัน ต่อมาเปลี่ยนเป็น เปตอง
ประวัติเปตองในประเทศไทย
เปตองเป็นกีฬากลางแจ้งประเภทหนึ่งซึ่งมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ประวัติที่แน่นอนไม่มีการบันทึกไว้ แต่มีหลักฐานจากการเล่าสืบต่อๆ กันมาว่า กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศกรีซ เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเก็บก้อนหินที่เป็นทรงกลมจากภูเขาและใต้ทะเลมาเล่นกัน ต่อมากีฬาประเภทนี้ได้แพร่หลายเข้ามาในทวีปยุโรป เมื่ออาณาจักรโรมันครองอำนาจและเข้ายึดครองดินแดนของชนชาวกรีกได้สำเร็จ ชาวโรมันได้ใช้การกีฬาประเภทนี้เป็นเครื่องทดสอบกำลังข้อมือและกำลังกายของ ผู้ชายในสมัยนั้น
ต่อมาเมื่ออาณาจักรโรมันเข้ายึดครองดินแดนชาวโกลหรือประเทศฝรั่เศสใน ปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศ ฝรั่งเศส การเล่นลูกบูลจึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลม แล้วใช้ตะปูตอกรอบๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกให้เหมาะกับมือ
ในยุคกลางประมาณ ค.ศ. 400-1000 การเล่นลูกบูลนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศษ ครั้นพอสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ได้ทรงประกาศสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลนี้ไว้สำหรับผู้สูงเกียรติ และให้เล่นได้เฉพาะพระราชสำนักเท่านั้น
ต่อมาในสมัยพระเจ้านโปเลียนมหาราชขึ้นครองอำนาจพระองค์ได้ทรงประกาศใหม่ ให้การเล่นลูกบูลนี้เป็นกีฬาประจำชาติของฝรั่งเศสและเปิดโอกาสให้ประชาชน ทั่วๆ ไป ได้เล่นกันอย่างเสมอภาคทุกคน การเล่นลูกบูลนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา เช่น โดยการนำเอาลูกปืนใหญ่ที่ใช้แล้วมาเล่นกันบ้างอย่างสนุกสนามและเพลิดเพลิน จนมีการตั้งชื่อเกมกีฬาประเภทนี้ขึ้นมาเล่นอย่างมากมายต่างๆ กัน เช่น บูลเบร-รอตรอง, บูลลิโยเน่ส์, บูลเจอร์ เดอร์ลอง และบลู-โปรวังซาล เป็นต้น
ในปลายศตวรรษที่ 19 ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับกติกาการ เล่นกีฬาลูกบูลโปรวังซาลขึ้น โดยให้วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล การเล่นกีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในประเทศ ฝรั่งเศส และมีการแข่งขันชิงแชมป์กันขึ้นโดยทั่วไป
จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ในปี ค.ศ. 1910 ตำบลซิโอต้าท์ เมืองท่ามาร์แชรด์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส การเล่นกีฬาลูก บูล-โปรวังซาลได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยนายจูลร์-เลอนัวร์ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือในการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลเก่งกาจที่สุดในขณะนั้น และได้เป็นแชมป์โปรวังซาลในยุคนั้นด้วยแต่ได้ประสบอุบัติเหตุอย่างร้ายแรงจน ขาทั้งสองข้างพิการเดินไม่ได้ไม่สามารถจะเล่นกีฬาโปรวังซาลเหมือนเดิมได้ ต้องนั่งรถเข็นดูเพื่อนๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน โดยที่ตนเองไม่มีโอกาสได้ร่วมเล่นเลย
วันหนึ่งขณะที่นายจูลร์ เลอนัวร์ ได้นั่งรถเข็นมองดูเพื่อนๆ เล่นเกมโปรวังซาลอย่างสนุกสนานอยู่นั้น น้องชายเห็นว่าพี่ชายมีอาการหงอยเหงาเป็นอย่างมาก น้องชายของเขาจึงได้คิดดัดแปลงแก้ไขกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยการขัดวงกลมลงบนพื้น แล้วให้ผู้เล่นเข้าไปยืนในวงกลม ให้ขาทั้งสองยืนชิดติดกัน ไม่ต้องวิ่งเหมือนกีฬาโปรวังซาล ทั้งนี้โดยมีเพื่อนๆ และญาติของนาย จูลร์ เลอนัวร์ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ นายจูลร์ เลอนัวร์ จึงได้มีโอกาสร่วมเล่นกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้อย่างสนุกสนามและเพลิดเพลินเหมือนเดิม
เกมกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นโดยมีสมาชิกครั้งแรกประมาณ 50 คน พวกเขาพยายามประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่เกมใหม่เป็นเวลาถึง 30 ปี จึงได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเข้าสู่นักกีฬา นักการเมือง และข้าราชการประจำในราชสำนัก จนในที่สุดก็ได้มีการก่อตั้ง “สหพันธ์ เปตองและโปรวังซาล” ขึ้นในปี ค.ศ.- 1938 จากนั้นจำนวนสมาชิกก็เพิ่มขึ้นแสนๆ คน มีบุคคลทุกระดับชั้นทุกเพศ ทุกวัยเข้าเป็นสมาชิก ลูกบูลที่ใช้เล่นก็มีการคิดค้นทำเป็นลูกโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง การเล่นจึงมีความสนุกสนานเร้าใจยิ่งขึ้นกว่าเดิม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่ได้ดัดแปลงแก้ไขใหม่นี้ได้รับความนิยมเล่น มากขึ้น และได้แพร่หลายไปตามหัวเมืองต่างๆ อย่างรวดเร็วทั่วประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนถึงดินแดน อาณานิคมของฝรั่งเศสอีกด้วย การเล่นกีฬาลูกบูลนี้ได้แบ่งแยกการเล่นออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. ลิโยเน่ล์
2. โปรวังชาล (วิ่ง 3 ก้าวแล้วโยน)
3. เปตอง (ที่นิยมเล่นในปัจจุบัน)
กีฬาเปตองจัดแข่งขันชนะเลิศแห่งโลกขึ้นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.-1959 ที่เมืองสปา ประเทศเบลเยียม นักเปตองจากประเทศฝรั่งเศสได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ
ปัจจุบันกีฬาเปตองเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายเกือบทุกประเทศในทวีป ยุโรป อเมริกา และเอเชีย สำหรับในประเทศในทวีปเอเชีย ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายและกว้างขวาง มากในปัจจุบัน
cradit : การกีฬาแห่งประเทศไทย

ตารางการแข่งขัน เปตองวัน รพี 2555

         การแข่งขันกีฬาเปตอง วันรพี 55   เนื่องในวันรพีเพื่อเป็นการ เชื่อมความสัมพันธ์ระห่วางหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ทางเรือนจำจังหวัดสงขลา
เป็นผู้รับผิดชอบ จัดการแข่งขัน โดยมีหน่วยงานราชการเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น  32 ทีม  ทำการจับฉลาก แบ่งสาย  8  สาย    สาย ละ   4  ทีม  ดังนี้

สาย A   
1.บังคับคดี 1
2.สถานพินิจ 2
3.เรือนจำจังหวัด 1
4.คุมประพฤติ 2

สาย B
1.เรือนจำกลาง
2.สนง.อธิบดีภาค 9  1
3.เรือนจำจังหวัด 2
4.ปปส

สาย C
1.อัยการ 1
2.ศาลแขวงสงขลา 1
3.ศาลเยาวชนฯ 1
4.xxxxxxxxxxx

สาย D
1.กักขัง  1
2.ศาลจังหวัดสงขลา  2
3.ศูนย์ฝึกเด็กฯ  1
4.สถานพินิจ 1

สาย E
1.ศูนย์ฝึกเด็ก 2
2.สนง.อธิบดีภาค9  2
3.ศาลปกครอง  2
4.ศาลจังหวัดสงขลา  1

สาย F
1.บำบัดพิเศษ  2
2.ทัณฑสถานหญิง  1
3.คุมประพฤติ  1
4.ศาลปกครอง  1

สาย G 
1.อัยการ  2
2.ศาลแขวงสงขลา 2
3.ทัณฑสถานหญิง  2
4.กักขัง 2

สาย H
1.บังคับคดี  2
2.บำบัดพิเศษ  1
3.ศาลเยาวชนฯ 2
4.ศาลแรงงานภาค 9

 ขอบคุณภาพ จาก http://petanquesongkhla.blogspot.com/