กีฬาเปตองเบี้องต้น
ประวัติความเป็นมากีฬาเปตองในประเทศไทย
กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518
โดยการริเริ่มของนายจันทร์ โพยหาญ นำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ให้คนรู้จัก
อย่างเป็นทางการคนแรก นายจันทร์ โพยหาญได้ร่วมกับนายศรีภูมิ สุขเนตร
ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนเก่าฝรั่งเศส
ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านกีฬาเปตองเป็นอย่างดี
ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเปตอง และโรปวังซาล แห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่
18 พฤศจิกายน 2519 โดยมีนายศรีภูมิ สุขเนตร
เป็นนายกสมาคมคนแรกเมื่อจัดตั้งสมาคมเรียบร้อยแล้ว
คณะกรรมการได้ช่วยกันรณรงค์เผยแพร่ และสาธิตการเล่นเปตองมาโดยตลอด
แต่ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร
ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีทรงช่วยส่งเสริม
และเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง
โดยทรงรับสั่งให้จัดการแข่งขันเปตองชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น
ซึ่งพระองค์ท่านและสมเด็จพระพี่นางเอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ
ทรงได้ลงร่วมทำการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย และอีกหลาย ๆ
รายการจึงให้สมญานามกีฬาเปตองว่า “กีฬาสมเด็จย่า”
ใน พ.ศ. 2527
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
รับสมาคมเปตองและโปรวังซาล แห่งแระเทศไทย ไว้ในพระอุปถัมภ์ และวันที่ 22
เมษายน 2530 เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตองฯ เป็นสหพันธ์เปตอง
แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ 2088 อินเดอร์สเตเดี้ยม
หัวหมาก กรุงเทพฯ ปัจจุบันกีฬาเปตอง มีการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬา
ของส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนด้วย เช่น กีฬาแห่งชาติ
กีฬาเขตการศึกษา กีฬากองทัพไทย กีฬามหาวิทยาลัย กีฬาของกระทรวงต่าง ๆ
กีฬารัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
จุดเด่นของกีฬาเปตอง
1. เป็นพื้นฐานในการเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ลักษณะของการเล่นเป็นการ เสริมสร้างแนวความคิด และสติปัญญาของผู้เล่น
2.
ในระหว่างการเล่นร่างกายจะได้รับการบริหารทุกส่วน
กล่าวได้ว่าในการเล่นเปตอง 6 เกมส์/วัน
จะต้องออกกำลังในการใช้ลูกบลูที่มีน้ำหนัก 680/700 กรัม ถึงประมาณ 200
ครั้ง ก้มขึ้นลงประมารณ 250 ครั้ง เดินไปมาในสนามประมาณ 3 กิโลเมตร
3. การเล่นกีฬาประเภทนี้ง่าย และสะดวก เล่นได้ทุกเวลาทั้งในร่ม และกลางแจ้ง สนามเดิน หญ้า และลูกรัง
ประโยชน์ของกีฬาเปตอง
พัฒนาทางด้านร่างกาย
-
กำลังแขน ผู้เล่นจะฝึกการใช้กำลังทั้งนิ้วมือ ข้อมือ แขน ข้อศอก
และหัวไหล่ให้สัมพันธืกัน เพื่อการบังคับลูกให้ได้จังหวะ และระยะที่ต้องการ
-
กำลังขา ผู้เล่นจะต้องเดินไปเดินมาตามความยาวของสนามซึ่งมีขนาดยาว 15 เมตร
กว้าง 4 เมตร ลุกนั่ง เพื่อการวาง หรือเข้าลูกตลอดเวลาการเล่น
- สายตา
กีฬาเปตองช่วยให้เกิดการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างสายตา และมือ
เนื่องจากต้องใช้สายตา กะระยะทาง พิจารณาแง่มุมต่าง ๆ ที่จะเข้าลูกตีลูก
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามต้องการ
พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
-
กีฬาเปตองเป็นเกมการเล่นที่จำเป็นต้องอาศัยการคิด คาดคะเน
และการอ่านเกมในการเล่น อย่างจริงจัง คิดเกมรับเมื่อเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
และเกมรุกที่บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นตามเกมที่เราวางไว้
พัฒนาการทางด้านจิตใจ
-
กีฬาเปตองมีทั้งเดี่ยว คู่ทีม
ผู้เล่นจะต้องเข้าใจถึงจิตใจของผู้ร่วมทีมเป็นอย่างดี มีการปรึกษาหารือกัน
ยอมรับความคิดของกัน และกัน แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
สมาธิเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าเป้นการเล่นประการใด ๆ
ผู้เล่นจะต้องฝึกการวางเฉย ทำจิตให้สงบ ทำสมาธิให้ได้ ตั้งความหวังให้น้อย
กว่าความเป็นจริง ไม่วิตกกังวลเกินไป ไม่ท้อถอยในการเล่น
ไม่สนใจเสียงข่มขวัญ เสียงเชียร์ที่ดัง การสอนเกมการเล่นของฝ่ายตรงข้าม
เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดความกังวลสับสน จะมีผลต่อเกมการเล่น
ถ้าสมาธิไม่ดีพอ
การพัฒนาการทางด้านสังคม
-
กีฬาเปตอง เป็นกีฬาที่เล่นได้ไม่ยาก
จึงมีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายจะเห็นได้ว่าในหมู่บ้าน
หน่วยงานของรัฐและเอกชนได้จัดให้มีการแข่งขัน
เพื่อให้ผู้เล่นได้มาพบปะสังสรรค์ได้รู้จักและได้ร่วมสนุกกัน
นับเป็นการสร้างสังคมอันดีแก่นักกีฬา นอกจากนี้ยังลดปัญหาสารเสพติด
เนื่องจากคนหันมาเล่นกีฬาล่งผลให้ปัญหาอาชญากรรมลดลง
- ดังนั้นการเล่นกีฬาเปตองจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของการเล่น การใช้เทคนิคทุกรูปแบบ
อุปกรณ์การเล่นเปตอง
1.
ลูกเปตอง (ลูกบูล) เป็นลูกทรงกลมด้านในกลวง
ทำด้วยโลหะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 71-76 ม. มีน้ำหนัก 350-800 กรัม
มีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนัก
และเลขรหัสปรากฎอยู่บนลูกบูลอย่างชัดเจน หมายเหตุ :
ปัจจุบันประเทศไทยมีลูกเปตองที่ทำด้วย พลาสติกเรียกว่า “ลูกพลาสตอง” ผลิต
จำหน่าย โดยบริษัท มาราธอน มีขนาด น้ำหนัก มาตรฐาน
ใกล้เคียงกับลูกเปตองสามารถใช้เล่นฝึกซ้อม หรือแข่งขันได้ในบางรายการ
2. ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติก มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25-35 ม.ม. ทาสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
3.
สนามเล่น สามารถเล่นได้ทุกสนาม ที่มีด้านหน้าเรียบยาวตรงพอประมาณ
ขนาดของสนามกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร (ยกเว้นพื้นไม้ พื้นคอนกรีตลาดยาง)
ประเภทการเล่น
แบ่งประเภทการเล่นเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทเดี่ยว ใช้ลูกบูล 3 ลูก
2. ประเภทคู่ คู่ผสม ใช้ลูกบูลคนละ 3 ลูก
3. ประเภททีม ใช้ลูกบูลคนละ 2 ลูก
วิธีการเล่นเปตอง
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ๆ ละเท่า ๆ กัน ให้ลูกบูลมีลวดลายต่างกัน
- เริ่มด้วยการเสี่ยง เพื่อตัดสินว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้เริ่มเล่นก่อน
-
ฝ่ายชนะเสื่ยงเริ่มเล่นคนใดคนหนึ่ง เลือกจุดเริ่มต้น
เขียนวงกลมบนพื้นสนามเส้นผ่านศูนย์กลาง ระหว่าง 35-50 ซม.
ห่างจากเส้นสนามได้น้อยกว่า 1 เมตร
- ฝ่ายชนะการเสี่ยงคนใดคนหนึ่งเข้าไปโยนลูกเป้าในสนาม ให้ห่างจากจุดเริ่มต้น ตามระยะดังนี้
- สำหรับเด็กเล็ก ไม่น้อยกว่า 4 เมตร ไม่เกิน 8 เมตร
- สำหรับเยาวชน ไม่น้อยกว่า 5 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- สำหรับเยาวชน ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- ผู้ใหญ่หรือทั่วไป ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 10 เมตร
การบริหารร่างกายก่อนและหลังการฝึก
ก่อนการเล่น
การ
บริหารร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักกีฬาทุกคน และต้องปฏิบัติเป็นประจำ
ก่อนและหลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ระบบภายในต่าง ๆ
ของร่างกายตื่นตัว ระบบประสาทมีความฉับไวในการรับคำสั่งจากสมอง
ไม่เกิดอาการเฉื่อยชา ระบบการหายใจทำงานได้สะดวก หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี
ปอดมีการขยายตัว ทำให้มีความจุของปอดทำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ
นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยืดหยุ่น
แข็งแรงทนทานพร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกซ้อมได้
หลังการเล่น
หลังการฝึกซ้อม
ทุกครั้ง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดความตึงเครียด
และเสียพลังงานไปเป็นจำนวนมาก การบริหารร่างกายหลังการฝึกซ้อม เช่น บีบ นวด
กด จับ ทุกสลับกันไป จะเป็นการผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
ไม่ให้เกิดความเมื่อยล้า และนอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบภายในส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด
วิธีการจับลูกเปตอง
1. หงายมือวางลูกบูลลงไปในอุ้มมือในท่าที่สบาย (รูปที่1)
2. หรือคว่ำมือจับลูก (รูปที่2)
3. ทั้งนี้จะจับแบบใดก้ได้แต่ความถนัดของแต่ละบุคคล
4.
ก่อนโยนลูกให้คว่ำมือลงดังรูปที่ 3,4,5,6
เหตุที่ต้องคว่ำมือเพราะจะสามารถบังคับลูกให้ไปตามทิศทางที่เราต้องการได้
ไม่ว่าลูกที่ปล่อยไปนั้นเป็นลูกเข้าหรือลูกตี
5. ก่อนโยนให้หักข้อมือลง และม้วนเข้าหาข้อมือ ในจังหวะสุดท้าย ที่จะปล่อยลูกให้ใช้อุ้งมือส่งลูกออกไป โดยใช้ปลายนิ้วบังคับลูก
หลักการบังคับลูกเปตอง
นัก
เปตองที่ฝึกหัดใหม่ มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการบังคับลูกเปตองอย่างมาก
สาเหตุอาจมาจากการฝึกที่ผิด หรือการไปจำวิธีการผู้อื่นแล้วนำมาฝึกอย่างผิด
โดยขาดการแนะนำ หรือจากการฝึกที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง การฝึกการบังคับลูก
ไม่ว่าจะเป็นลูกเข้าหรือลูกตี ลูกหมุนซ้าย หมุนขวา หรือลูกสกรู
(ลูกหมุนกลับหลัง)
ปลายนิ้วมือและข้อมือมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการบังคับลูก
หลักการเข้าลูกบูล
การเข้าลูกบูล ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเล่นเปตอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร มีหลักการเข้าลูกดังนี้
1. ใช้ความสังเกต และจดจำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และคู่ต่อสู่
2. ศึกาพื้นสภาพที่ใช้ฝึก หรือแข่งขัน ว่ามีสภาพเป็นเช่นไร แข็ง เรียบ ขรุขระ ฯลฯ
3. หาจุดตก เพื่อจะได้คำนวณน้ำหนักมือที่จะส่งลูก ให้พอเหมาะกับระยะ
4. ไม่ควรโยนลูกออกจากมือ ถ้าสมาธิยังไม่ดีพอ
นอกเหนือจาก 4 ประการนี้แล้ว
สิ่งที่อาจทำให้การเข้าลูกไม่ดีเท่าที่ควรก็คือ
ลูกบูลน้ำหนักและมือไม่สมดุลกัน การเข้าลูกมี 2 ลักษณะ คือ นั่งกับยืน
ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืน เท้าทั้งสองข้างจะต้องอยู่ในวงกลม ไม่เหยียบกัน
และไม่ยกเท้าในขณะโยนลูก
ลักษณะการนั่งเข้าลูก นั่งบนส้นเท้า มีเท้านำ และเท้าตาม เขย่งส้นเท้าขึ้น และเท้าทั้งสองต้องอยู่ในวงกลมไม่เหยียบเส้น
ยืนเข้าแบบเท้าคู่
ลักษณะ
การยืนเข้า หรือการตีลูก ยืนเท้าคู่ หรือแบบมีเท้านำก็ได้แล้วแต่ความถนัด
ของแต่ละบุคคล แต่ถ้าถนัดโยนลูก , ตีลูก ด้วยมือขวา
ควรยืนเท้าขวานำเล็กน้อย เพื่อให้การทรงตัวมีฐานที่มั่นคง
วิธีการเข้าลูก
วิธีการเข้าลูกมีอยู่ 3 แบบ คือ
1.
การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์) การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์)
เป็นการโยนลูกให้ตกตั้งแต่จุดโยนหรือไม่เกิน 3 เมตร จากจุดโยน
ใช้แรงเหวี่ยงจากแขน ข้อมือ และปลายนิ้วส่งลูก
ระยะทางที่ลูกบูลวิ่งเข้าหาเป้าจะมีระยะทางไกลทิศทางของลูกบูลอาจมีการ
เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามลักษณะของพื้นสนามการโยนลูกนี้เหมาะสำหรับสนามเรียบ
เท่านั้น
2.
การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป) การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป)
เป็นการโยนลูกให้ตกเกือบกึ่งกลางระหว่างจุดเริ่มกับลูกเห้าต้องโยนลูกให้สูง
กว่าการโยนลูกระยะใกล้ และทุกลูกที่โยนออกไปต้องเป็นลูกที่หมุนกลับหลัง
(ลูกสกรู) ข้อสำคัญของการโยนลูกคือ จุดตก
การโยนลูกนี้เหมาะสำหรับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เป็นหลุม พื้นสนามแข็ง ขระขระ
หรือ จุดตกของการปล่อยลูกระยะใกล้เป็นหลุมไม่สามารถหาจุดตกได้
3.
การโยนลูกโด่ง (ดร๊อฟ) การโยนลูกโด่งต้องโยนให้สูงกว่าลูกระยะกลาง
และต้องให้ลูกหมุนกลับหลัง (สกรู) มากกว่า โดยใช้ปลายนิ้วสกรูลูก
ไม่ใช่เป็นการกระดกข้อมูล การโยนลูกนี้จุดตกมีความสำคัญมาก
ลูกนี้เหมาะสมกับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เปียกแฉะ เป็นหลุมเป็นบ่อ
ต้องโยนให้เกือบถึงลูกเป้า ห่างจากลูกเป้า ประมาณ 50-100 ซม.
ทั้งนี้ต้องแล้วแต่พื้นสนาม
ในการแข่งขันระดับโลกส่วนใหญ่จะใช้โยนลูกลักษณะนี้
เพราะสนามแข่งขันเป็นหินเกร็ด
วิธีการฝึกเข้าลูก
วิธีที่ 1
ให้เขียนวงกลมเป็นเป้าหมายซ้อนกันหลาย ๆ วง
วงในสุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. วงนอกต่อ ๆ มาห่างกันวงละ 10-15
ซม. กำหนดคะแนนวงในให้ 5 คะแนน วงต่อ ๆ มาเป็น 4,3,2,1 ตามลำดับ
แล้วฝึกเข้าลูกจากระยะ 6 เมตร 6,5,7,7.5 ไปเรื่อย ๆ จนถึง 11 เมตร
ฝึกโยนทุกระยะ ระยะละ 40-50 ลูก
แล้วจดบันทึกคะแนนแต่ละระยะไว้เพื่อเปรียบเทียบถึงความบกพร่อง
ระยะใดที่มีความบกพร่องมากก็ให้ฝึกระยะนั้นมากขึ้น
วิธีที่ 2
ให้เขียนสี่เหลี่ยมมีลูกเป้าอยู่ในสี่เหลี่ยมในสุด ซึ่งมีรัศมี 20 ซม.
จากนั้นให้ทำสี่เหลี่ยมซ้อนไปเรื่อย ๆ เส้นห่าง 5-10 ซม. กำหนดคะแนน
5,4,3,2,1 ตามลำดับ
ในแต่ละเส้นล่างของสี่เหลี่ยมจะมีลูกบูลอยู่โดยวางแบบสลับฟันปลา
กำหนดจุดในการฝึกเหมือนวิธีที่ 1 ระยะใดบกพร่องก็ให้ฝึกระยะนั้นมาก ๆ
วิธีที่ 3 การฝึกเข้าเหมือนแบบที่ 1 แต่เพิ่มลูกบูลดักไว้ ถ้าเข้าถูกลูกบูลที่วางไว้ถือว่าฟาวล์ตองติดลบคะแนน ฝึกให้ชำนาญ
วิธีการฝึกตีลูก
การ
ตีลูกเป็นส่วนสำคัญของการเล่นเปตองอีกประการหนึ่ง
เมื่อไม่สามารถเข้าลูกให้ชนะคู่ต่อสู้ได้
ต้องอาศัยการตีลูกเพื่อให้ลูกของคู่ต่อสู้ออกจากจุดที่ตั้งอยู่
ผู้เล่นที่ฝึกหัดใหม่มักเผชิญต่อความยากลำบากในการตีและบังคับลูก
สาเหตุอาจมาจากข้อบกพร่องดังนี้
1. ผู้เล่นจับลูกไม่ถูกวิธี และขาดสมาธิ
2. ผู้เล่นอาจตีลูกช้า หรือเร็วเกินไป
3. การประสานงานของแรงตีลูกไม่ถูกจังหวะ
4. การวางตัว และวางเท้าผิดจากความถนัดของตนเอง
5. แขนงอ หรือแกว่งขณะตีลูก
6. ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
7. ขาดการฝึกซ้อมหรือเว้นระยะการฝึกซ้อมนานเกินไป
8. ลูกเปตอง (ลูกบูล) มีขนาดและน้ำหนักไม่สมดูลกัน
แต่ถ้าผู้ฝึกพบว่าสาเหตุต่าง ๆ ของการตีเกิดขี้นเพราะสาเหตุใด
หรือหลายสาเหตุ ให้แก้ไขดัดแปลงวิธีการฝึกทีละขั้นแต่ต้องจับ และวางลำตัว
เท้าให้ถูกต้อง โดยอาศัยแรงจาก 3 แหล่งใหญ่ คือ
1. แรงตีที่เกิดจากการเหวี่ยงของแขน
2. แรงตีที่เกิดจากการดีดตวัดข้อมือและนิ้วมือ
3. แรงตีที่เกิดจากำลังขาทั้งสองข้าง โดยการย่อเข่าช่วยเล็กน้อย
วิธีการฝึกตีลูก
วิธีที่ 1
การตีลูกเลียด (ตีไลน์) เป็นการตีลูกลักษณะเกี่ยวกับการเข้าลูกระยะใกล้
แต่ใช้ความแรงมากกว่า
และเหมาะสำหรับพื้นสนามเรียบเท่านั้นทิศทางของลูกที่ตีไปหาความแน่นอนไม่ได้
หากมีลูกของฝ่ายตรงข้ามหรือของตนขวางหน้า ก็ไม่สามารถตีลูกลักษณะนี้ได้
วิธีการฝึก
- หาจุดตกของลูก ซึ่งควรเป็นที่เรียบที่สุด
- จุดตกที่ดีไม่ควรห่างจากลูกที่จะตีเกิน 2 เมตร (ยิ่งจุดตกห่างลูกที่ตีมากมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้มาก)
- ก่อนที่จะตีลูกต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตนเอง
- ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตี เช่น แขน มือ นิ้วมือ ข้อมือ และขาทั้งสองข้าง
- ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจริง
วิธีที่ 2
การตีลูกถึงตัว (ตีเจาะ) การตีลูกนี้เหมาะกับสภาพสนามทุกรูปแบบ
และเป็นลูกที่นักกีฬาเปตองทั่วไปใช้กันมากที่สุด
เนื่องจากการฝึกตีลูกนี้หากตีได้อย่างแม่นยำ ลูกที่ต่ำไปถูกลูกคู่ต่อสู้
เป็นจังหวะเดียวกับลูกตกถูกพื้นพอดี ลูกที่ตีมีโอกาสอยู่แทนที่ได้ด้วย
การฝึกตีลูกนี้นักกีฬาไม่ต้องพะวงว่าจะมีลูกขวางหน้า
ท่าทางในการตีลูก
- ยืนในท่าที่ถนัดที่สุด แต่เท้าทั้งสองข้างต้องไม่เหยียบเส้น และอยูในวงกลม
- ตั้งลูกตามต้องการเพื่อฝึกตี
-
เริ่มฝึกตีจากระยะใกล้ ๆ ก่อน จาก 3 เมตร 4 เมตร 5 เมตร ต่อไปเรื่อย ๆ
จนถึงระยะ 12 เมตร แล้วจดสถิติไว้ทุกวัน ๆ เพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง
-
ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตีลูกให้สัมพันธ์กันระหว่างการดีดตวัดข้อ
มือ นิ้วมือ และขาทั้งสองข้าง ระบบการหายใจก็มีส่วนสำคัญ
เกี่ยวกับกับการตีลูกมาก ควรจะได้มีการฝึกให้ประสานงานให้ดี
- ก่อนตีลูกจะต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตัวเอง
- ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment